Book,Page,LineNumber,Text
46,0047,001,โอฬารเต็มเปี่ยมแล้ว. จริงอยู่ อัชฌาสัยนั้น พระราชาหนุ่มทรงพระ
46,0047,002,นามว่าคามณิ กล่าวโดยสำนวนว่าพรหมจรรย์ เพราะเป็นความประพฤติ
46,0047,003,"ทางใจอันประเสริฐ."""
46,0047,004,[๕๑๒] บรรดาธรรมเทศนาและอัชฌาสัยเหล่านั้น ธรรม-
46,0047,005,เทศนา พระอรรถกถาจารย์กล่าวไว้ในอรรถกถาสามัญญผลสูตรเป็นต้น
46,0047,006,"ว่า "" โดยเนื้อความ ธรรมเทศนาคือศาสนธรรมอันสงเคราะห์ด้วย"
46,0047,007,"สิกขา ๓ จะมีประโยชน์อะไรด้วยการถือธรรมเทศนานั้นไว้แผนกหนึ่ง ๆ."""
46,0047,008,"อนึ่ง คำที่พระอรรถกถาจารย์กล่าวไว้ว่า "" อัชฌาสัย ชื่อว่า"
46,0047,009,"พรหมจรรย์ "" ย่อมไม่สมด้วยอรรถกถาคามณิชาดก ในปฐมวรรค"
46,0047,010,เอกนิบาต.
46,0047,011,[ แก้อรรถ ]
46,0047,012,"ก็ในอรรถกถา๑คาถานั้น พระอรรถกถาจารย์กล่าวว่า "" คำว่า"
46,0047,013,อปิ สักว่าเป็นนิบาต. บทว่า อตรมานานํ ความว่า ผู้ตั้งอยู่ใน
46,0047,014,โอวาทของบัณฑิตทั้งหลาย ไม่รีบร้อน คือไม่ประพฤติด่วนได้ กระทำ
46,0047,015,กรรมโดยอุบายอยู่. หลายบทว่า ผลาสา ว เป็นต้น ความว่า ผลที่หวัง
46,0047,016,คือผลตามที่ปรารถนา ย่อมาสำเร็จทีเดียว. ในคำว่า วิปกฺกพฺรหฺม-
46,0047,017,จริโยสฺมิ นี้ สังคหวัตถุ ๔ ชื่อว่า พรหมจรรย์ เพราะเป็นความ
46,0047,018,ประพฤติประเสริฐ. ก็พรหมจรรย์นั้น ชื่อว่าสำเร็จแล้ว เพราะยศสมบัติ
46,0047,019,อันมีในสังคหวัตถุนั้นเป็นมูล อันพรหมจารีนั้นได้แล้ว. อนึ่ง ยศแม้
46,0047,020,"ที่สำเร็จแล้ว ชื่อว่า พรหมจรรย์ เพราะอรรถว่าประเสริฐ."""
46,0047,021,
46,0047,022,๑. ชาตกฏฺกถา. ๑/๒๐๘.