Book,Page,LineNumber,Text 42,0050,001,"ไม่แสดงเสียก็ดีเท่านั้น, เบื้องหน้าแต่เวลาที่อาบัติอันภิกษุทำคืนแล้ว " 42,0050,002,"ตามปัจจัยนั้น หาทำอันตรายไม่."" " 42,0050,003,"[๑๔๘] นัยอันมาในฎีกาอริฏฐสิกขาบทนั้นว่า ""สภาพใดย่อม" 42,0050,004,ถึง คือย่อมมา ในระหว่าง คือในท่ามกลางสันดานของสัตว์ ด้วย 42,0050,005,สามารถขัดขวางต่อสมบัตินั้น ๆ เหตุนั้น สภาพนั้น ชื่อว่าอันตราย 42,0050,006,คืออนัตถะ (ความฉิบหาย) อันเป็นไปในทิฏฐธรรม (ปัจจุบัน) 42,0050,007,เป็นต้น. ธรรมซึ่งมีปกติทำอันตรายนั้น ชื่อว่าอันตรายิกธรรม. 42,0050,008,เจตนาธรรมที่ให้ผลในภพเป็นลำดับเป็นสภาพ ชื่อว่าอันตรายิกธรรม. 42,0050,009,เจตนาธรรมที่ให้ผลในภพเป็นลำดับเป็นสภาพ ชื่อว่าอนันตริย- 42,0050,010,ธรรม. อันตรยิกธรรมคือกรรม ชื่อว่ากัมมันตรายิกธรรม. คำที่ 42,0050,011,พระอรรถกถาจารย์กล่าวว่า ' (ภิกษุณีทูสกกรรม) หาทำอันตรายต่อ 42,0050,012,"สวรรค์ไม่' เพราะไม่มีลักษณะแห่งมิจฉาจาร, ด้วยว่าความที่" 42,0050,013,ภิกษุณีเป็นผู้อันธรรม รักษา ไม่มี. ก็คำนั้น ท่านกล่าวไว้ 42,0050,014,ด้วยสามารถภิกษุณีที่ดำรงอยู่โดยปกติ. แต่ภิกษุณีทูสกกรรม ที่ 42,0050,015,บุคคลประพฤติ (ให้เป็นไป) ในภิกษุณีผู้เป็นอริยะ เป็นกรรม 42,0050,016,ให้เป็นไปในอุบายโดยแท้. ก็ในข้อนี้ มีนันทมาณพเป็นอุทาหรณ์. 42,0050,017,อีกอย่างหนึ่ง พระอรรถกถาจารย์ ไม่กล่าวความที่ภิกษุณีทูสก- 42,0050,018,กรรม เป็นกรรมทำอันตรายต่อสวรรค์ ก็ด้วยสามารถที่ชนทั้ง ๒ มี 42,0050,019,ฉันทะร่วมกัน. แต่ท่านกล่าวความที่ภิกษุณีทูสกกรรมเป็นกรรมทำ 42,0050,020,อันตรายต่อพระนิพพาน ก็เพราะประทุษร้ายข้อปฏิบัติ. อาจารย์บาง 42,0050,021,พวกกล่าวว่า 'ก็แม้ความที่ภิกษุณีทูสกกรรมเป็นกรรมทำอันตราย 42,0050,022, 42,0050,023,๑. สา. ที. ๓/๓๖๐.