Book,Page,LineNumber,Text
42,0048,001,กถาว่าด้วยวินัย
42,0048,002,[วินัย ๒ อย่าง]
42,0048,003,[๑๔๗] ชื่อว่าวินัยมี ๒ อย่าง ด้วยสามารถวินัยของบรรพชิต
42,0048,004,และคฤหัสถ์.
42,0048,005,[อนาคาริยวินัย]
42,0048,006,ในวินัย ๒ อย่างนั้น การไม่ต้องอาบัติ ๗ กอง ชื่อว่าอนาคาริย-
42,0048,007,วินัย (วินัยของบรรพชิต).
42,0048,008,อนาคาริยวินัยนั้น ชื่อว่าอันบรรพชิตศึกษาดีแล้ว เพราะไม่
42,0048,009,ต้องโทษเครื่องเคร้าหมอง และเพราะทำตนให้ตั้งอยู่ในคุณ คือ
42,0048,010,มรรยาท ชื่อว่าเป็นมงคล เพราะนำมาซึ่งประโยชน์สุขในโลกทั้ง ๒.
42,0048,011,"ก็ในคำเหล่านี้ คำว่า "" การไม่ต้องอาบัติ ๗ กอง ชื่อว่าอนาคาริย-"
42,0048,012,"วินัย "" ข้าพเจ้ากล่าว ด้วยสามารถการกำหนดอนาคาริยวินัยอย่าง"
42,0048,013,อุกฤษฏ์. เพราะฉะนั้น ในอาบัติแม้ทั้ง ๗ กอง อาบัติกองใด ๆ
42,0048,014,อันภิกษุใดแกล้งต้องแล้ว อาบัติกองนั้น ๆ อันภิกษุนั้นพึงแสดงคืน
42,0048,015,เสียด้วยวุฏฐานวิธี (อยู่กรรม) และเทศนาวิธี (แสดง) ที่เดียว.
42,0048,016,เพราะว่ากองอาบัติแม้ที่แกล้งต้องแล้ว อันภิกษุอยู่กรรมเสียก็ดี แสดง
42,0048,017,เสียก็ดี ย่อมไม่ทำอันตราย-
42,0048,018,[อันตรายิกธรรม]
42,0048,019,ด้วยเหตุนั้น ในอรรถกถา๑อริฏฐสิกขาบท ท่านจึงกล่าวว่า
42,0048,020,
42,0048,021,* พระธรรมดิลก (ทองดำ จนฺทูปโม ป. ๗ ) วัดบรมนิวาส แปล ๑. สมันต.
42,0048,022,๒/๔๖๓.