Book,Page,LineNumber,Text
39,0047,001,สฺฉินฺทิสฺสามิ เต กายํ จักทิ่มแทงกายของเจ้า
39,0047,002,เอวํ ชานาหิ คทฺรภ. เจ้าจงรู้อย่างนี้เถิด นะลา !
39,0047,003,นายกัปปกะพูดขู่ดังนี้ เพื่อจะให้ลานั้นกลัว แล้วจะได้จับลา
39,0047,004,นั้นมาเทียมเกวียนได้สะดวก แต่หาเป็นไปตามความประสงค์ของเขา
39,0047,005,ไม่ กลับเป็นการยากตรงกันข้าม เพราะเป็นการผิดนิสัยใจคอของลา
39,0047,006,ลาชอบการปลอบโยน ตามความชอบของมัน ต้องหาสิ่งที่ชอบใจยิ่ง
39,0047,007,กว่านั้นเข้าล่อ จึงจะใช้ได้ง่าย ลาพอได้ยินคำขู่ของนายกัปปกะเข้า
39,0047,008,เช่นนั้น ก็ชักเดือดแค้นเป็นอย่างยิ่ง จึงได้พูดตอบนายกัปปกะว่า เออ
39,0047,009,ก็เมื่อเป็นเช่นนั้น ข้าพเจ้าก็จะต้องทำการแก้แค้นแก่ท่าน ให้สมกัน
39,0047,010,เป็นแน่แท้ ฉะนี้.
39,0047,011,สัตว์โลกมีนิสัยใจคอเป็นต่าง ๆ กัน ที่ชอบขู่ก็มี ไม่ชอบขู่ก็มี
39,0047,012,ขู่บ้างไม่ขู่บ้างก็มี บางพวกที่ไม่มีธรรมชาติเครื่องรู้จักผิดและขอบ ซึม ๆ
39,0047,013,ตึง ๆ ไม่ใช่คนช่างคิด จะทำอะไรต้องคอยจี้คอยกำชับ ไม่ขู่ก็ไม่ทำ
39,0047,014,"การงานอะไร ๆ ก็ราข้อ ซึ่งเรียกว่า "" ใจดีผีเข้า "" ชักกำเริบ"
39,0047,015,เอาเป็นใช้ไม่ได้ อย่างนี้ต้องขู่ บางพวกมีเชาว์ไวมีไหวพริบ เป็นคนช่าง
39,0047,016,สังเกตแบบอย่าง ไม่ต้องจี้ แนะ ๆ เตือน ๆ ก็เข้าใจพอ รู้จักผิดและ
39,0047,017,ชอบ อย่างนี้ไม่ต้องขู่ บางพวกเป็นปานกลาง มีไหวพริบเป็นอย่าง ๆ
39,0047,018,ไม่ทั่วไป ต้องอาศัยการเตือนบ้าง ขู่บ้าง ปลอบโยนบ้าง จึงจะเอาเป็น
39,0047,019,การเป็นงานได้ อย่างนี้ต้องใช้ขู่บ้างไม่ขู่บ้าง โดยย่อ นิสัยใจคอของ
39,0047,020,สัตว์ย่อมเป็นอย่างนั้น.