Book,Page,LineNumber,Text 12,0018,001,อรรถ คือความหมายที่ใช้ เช่นเป็นผู้ทำเองในพากย์ที่เป็น 12,0018,002,กัตตุวาจก [ สยกัตตา ] เป็นที่ทำ [ อวุตตกัมม ] ชื่อสัมพันธ์ เช่น 12,0018,003,สยกัตตา อวุตตกัมม. การเข้าสัมพันธ์ เช่นบทนามนามที่ประกอบ 12,0018,004,ด้วย ทุติยาวิภัตติ เข้ากับกิริยา วิธีสัมพันธ์เกี่ยวด้วยรู้จักความเนื่อง 12,0018,005,กันของบททั้งหลายในพากยางค์และพากย์นั้น ๆ เช่น อุ. ในจักขุ- 12,0018,006,ปาลัตเถระ. ที่แสดงแล้ว และเกี่ยวด้วยระเบียบในเวลาสัมพันธ์. แบบที่ 12,0018,007,แสดงข้อเหล่านี้ พร้อมทั้งนิบาต เรียกว่าแบบสัมพันธ์ มีแจ้งใน 12,0018,008,หนังสือวายกสัมพันธ์ภาคที่ ๓ ตอนต้น ซึ่งได้ถือเป็นหัวข้ออธิบาย 12,0018,009,ในหนังสือนี้. 12,0018,010,เพราะเหตุนี้ นักเรียนพึงท่องจำแบบสัมพันธ์นั้นให้ได้เป็นพื้น 12,0018,011,ไว้ก่อน เพื่อเป็นแบบแล้ว จึงมาความเข้าใจเพิ่มเติมในหนังสือนี้ 12,0018,012,เช่นนี้จึงจะได้ประโยชน์. 12,0018,013,[ ๔ ] พากยางค์ก็ดี พากย์ก็ดี ประกอบขึ้นด้วยบท คือ บท 12,0018,014,นามบ้าง บทกิริยาบ้าง. และบททั้งหลายอันเป็นเครื่องประกอบ 12,0018,015,เหล่านั้นเอง ย่อมมีความสัมพันธ์กันตลอด. เพราะเหตุนั้น เมื่อเรียน 12,0018,016,สัมพันธ์จึงจำต้องเรียนให้รู้จักบท มีหัวข้อที่พึงเรียนก่อนในตอนนี้ คือ 12,0018,017,อรรถที่ใช้ ๑ ชื่อ ๑ การเข้า ๑. 12,0018,018,ในบททั้ง ๒ คือนามและกิริยานั้น ยังมีวิภาคออกไปอีก คือ 12,0018,019,บทนามแบ่งเป็น ๓ คือ บทนามนาม ๑ บทคุณนาม ๑ บทสัพพนาม ๑ 12,0018,020,บทกิริยาแบ่งเป็น ๒ คือ บทกิริยาในพากยางค์ ๑ บทกิริยาในพากย์ ๑. 12,0018,021,พึงทราบอธิบาตตามแนวแบบสัมพันธ์เป็นลำดับไป.