Book,Page,LineNumber,Text 12,0003,001,อย่างนั้นก็ได้ ยังไม่บริบูรณ์อย่างนั้นก็ได้. 12,0003,002,อุ. (อุทาหรณ์) สุริเย อฏฺ€งฺคเต จนฺโท อุคฺคจฺฉติ เมื่อ 12,0003,003,อาทิตย์ตก จันทร์ขึ้น. สุริเย อฏฺ€งฺคเต เรียกว่าประโยคได้ แต่จะ 12,0003,004,เรียกว่าพากย์มิได้ ทั้งหมดนั้นเรียกว่าพากย์และจะเรียกว่าประโยค 12,0003,005,ก็ได้. แต่ในบาลีไวยากรณ์ไทย คำว่าประโยคหมายถึงพากย์. 12,0003,006,ข. คำพูดในวิจีวิภาค แบ่งเป็น ๖ มีนามเป็นต้น เพราะมุ่ง 12,0003,007,ทางจำแนกศัพท์เปรียบเหมือนจำแนกเรือนออกเป็นทัพพสัมภาระแต่ 12,0003,008,ละชิ้น. 12,0003,009,คำพูดในวายกสัมพันธ์ แบ่งเป็น ๓ คือ บท พากยางค์ พากย์ 12,0003,010,(จะอธิบายในข้อต่อไป) เพราะมุ่งทางผูกศัพท์เข้าเป็นพากย์ และ 12,0003,011,บทก็เป็นคำเรียกคำพูดในวจีวิภาค เช่นนาม สมาส ตัทธิต ที่ 12,0003,012,ประกอบด้วยวิภัตติทั้งหมด. 12,0003,013,พึงทราบข้อที่เปรียบเทียบต่อไปดังนี้:- 12,0003,014,คำพูดที่แบ่งไว้ในวจีวิภาค เปรียบเหมือนทัพพสัมภาระแต่ละ 12,0003,015,ชิ้นของเรือนมีเสา ขื่อ แป เป็นต้น ทัพพสัมภาระเหล่านั้น เมื่อ 12,0003,016,เตรียมเพื่อปรุงเป็นเรือนได้แล้วก็เรียกรวมว่า 'เครื่องปรุงเรือน.' 12,0003,017,และเมื่อปรุงสำเร็จเป็นเรือนแล้ว ก็แบ่งส่วนของเรือนออกเรียกใหม่ 12,0003,018,ว่าชาย ว่าเฉลียง ว่าห้อง เป็นต้น จนถึงเรียกรวมทั้งหมดว่าเรือน. 12,0003,019,บทเปรียบเหมือนเครื่องปรุงเรือน. พากยางค์ เปรียบเหมือนส่วน 12,0003,020,หนึ่ง ๆ ของเรือน มีชาน เฉลียง ห้อง เป็นต้น. พากย์เปรียบเหมือน 12,0003,021,เรือนทั้งหมด. พึงทราบความพิสดารในข้อต่อไปนี้ :-