Book,Page,LineNumber,Text 11,0025,001,และสาธนะก็เป็นได้เฉพาะกัมมสาธนะและภาวสาธนะเท่านั้น จะลงใน 11,0025,002,รูปและสาธนะอื่นหาได้ไม่. 11,0025,003,ปัจจัยพวกกิตกิจจปัจจัย ใช้ประกอบศัพท์ลงได้ทุกรูปและทุก 11,0025,004,สาธนะไม่มีจำกัด แต่ก็ยังมีบ้างที่ปัจจัยบางตัวหาลงในรูปและสาธนะไม่ 11,0025,005,กลับไปลงใช้แทนวิภัตตินาม เช่น ตุํ และ เตฺว ปัจจัย และมี ๒ ตัวนี้ 11,0025,006,เท่านั้นที่แปลกจากปัจจัยทั้งหลาย. 11,0025,007,ปัจจัยแห่งนามกิตก์ในบาลีไวยากรณ์ ท่านจำแนกไว้มีเพียง ๑๔ 11,0025,008,ตัว จัดเป็น ๓ พวก คือ :- 11,0025,009,"กิตปัจจัย มี ๕ ตัว คือ กฺวิ, ณี, ณฺวุ, ตุ, รู." 11,0025,010,"กิจจปัจจัย มี ๒ ตัว คือ ข, ณฺย." 11,0025,011,"กิตกิจจปัจจัย มี ๗ ตัว อ, อิ, ณ, เตฺว, ติ, ตุํ, ยุ." 11,0025,012,ปัจจัยที่กล่าวยกมากล่าวไว้ในบาลีไวยากรณ์เพียงเท่านี้ ก็โดยยก 11,0025,013,เอาเฉพาะปัจจัยที่ใช้มากในปกรณ์ทั้งหลาย และใช้สาธนทั่วไปแก่ธาตุ 11,0025,014,ทั้งปวง แต่เมื่อจะกล่าวให้ครบปัจจัยในแผนกนี้ ยังมีอยู่อีกมาก 11,0025,015,แต่โดยมากมักใช้ลงได้เฉพาะในธาตุบางตัว หรือถึงจะลงในธาตุอื่นได้ 11,0025,016,บ้าง ก็ยากแก่การที่จะจัดเข้าเป็นหมวดหมู่ให้ลงรอยกันในรูปสาธนะ 11,0025,017,เหตุนั้น ท่านจึงยกเว้นเสียมิได้นำมากล่าวไว้ ผู้ศึกษาผู้ต้องการความรู้ 11,0025,018,กว้างขวาง จะต้องค้นคว้าหาด้วยตนเอง. 11,0025,019,วิเคราะห์แห่งนามกิตก์ 11,0025,020,ศัพท์ทุกตัวที่จะสำเร็จรูปเป็นนามกิตก์ได้ ย่อมต้องมีการตั้ง