Book,Page,LineNumber,Text 11,0022,001,วิเคราะห์แห่งสาธนะ 11,0022,002,รูปวิเคราะห์แห่งสาธนะนี้ หมายความว่า ตัวที่แยกออกตั้ง 11,0022,003,วิเคราะห์ ซึ่งเป็นต้นเหตุให้สำเร็จรูปเป็นสาธนะ ๆ ที่จะสำเร็จเป็น 11,0022,004,รูปขึ้นได้ ก็ต้องอาศัยรูปวิเคราะห์ เช่น ทายโก (ผู้ให้) เป็นสาธนะ 11,0022,005,ก่อนที่จะสำเร็จรูปเป็นเช่นนั้น ต้องมาจากรูปวิเคราะห์ เทตี+ติ 11,0022,006,ฉะนั้น เทตี-ติ จึงเป็นรูปวิเคราะห์ ทายโก เป็นตัวสาธนะ. 11,0022,007,ก็รูปวิเคราะห์นั้น มีอยู่ ๓ รูป คือ กัตตุรูป ๑ กัมมรูป ๑ 11,0022,008,ภาวรูป ๑ ที่เรียกชื่อเช่นนี้ ก็ด้วยอำนาจวาจกในอาขยาต เพราะการ 11,0022,009,ตั้งวิเคราะห์ต้องใช้วาจกทั้งนั้น และวาจกโดยมากก็มักใช้ในอาขยาต 11,0022,010,ในกิริยากิตก์ก็มีใช้บ้าง แต่เป็นส่วนน้อย บางคราวก็ใช้นามกิตก์นั้นเอง 11,0022,011,ก็มี ที่กล่าวนี้มีเฉพาะกัมมรูปและภาวรูปเท่านั้น ส่วนกัตตุรูปใช้ 11,0022,012,กิริยาอาขยาตโดยส่วนเดียว. รูปวิเคราะห์นี้เมื่อจักตามวาจกย่อมได้ 11,0022,013,ดังนี้คือ :- รูปวิเคราะห์ที่เป็นกัตตุวาจกและเหตุกัตตุวาจก จัดเป็น 11,0022,014,กัตตุรูป ๑ รูปวิเคราะห์ที่เป็นภาววาจกและเหตุกัมมวาจา จัดเป็น 11,0022,015,กัมมรูป ๑ รูปวิเคราะห์เป็นภาววาจก จัดเป็นภาวรูป ๑. 11,0022,016,วิธีปรุงรูปวิเคราะห์ 11,0022,017,เป็นธรรมดาของการตั้งวิเคราะห์ ก่อนอื่นเมื่อเห็นศัพท์แล้วจะ 11,0022,018,ต้องแยกรูปว่า เป็นธาตุอะไร มีกรรมหรือไม่ ถ้าเป็นสกัมมธาตุ ก็ใช้ 11,0022,019,"ได้เฉพาะกัตตุรูป กัมมรูป, ถ้าเป็นอกัมมธาตุ ก็ใช้ได้เฉพาะกัตตรูป" 11,0022,020,"ภาวรูป, เมื่อเราค้นตัวธาตุได้แล้ว ก็นำธาตุตัวนั้นมาปรุงด้วยเครื่อง"