Book,Page,LineNumber,Text 11,0009,001,บทอื่นมาเป็นประธาน กล่าวอย่างง่ายอื่น ใช้กิริยาเป็นนามนั่นเอง 11,0009,002,เช่น กรณํ (ความทำ) €านํ (ความยืน) นิสชฺชา (ความนั่ง) 11,0009,003,เป็นต้น. ส่วนกิตก์ที่สำเร็จรูปเป็นคุณนาม จะใช้ตามลำพังตัวเองไม่ได้ 11,0009,004,อย่างเดียวกับคุณนามโดยกำเนิดเหมือนกัน ต้องอาศัยมีตัวนามอื่น 11,0009,005,เป็นตัวประธาน เช่น การโก (ผู้ทำ) ปาปการี (ผู้ทำซึ่งบาปโดยปกติ) 11,0009,006,อนุสาสโก (ผู้ตามสอน) เป็นต้น. ศัพท์เหล่านี้ ล้วนต้องมีนามนาม 11,0009,007,บทอื่นเป็นประธานสิ้น เช่น ชโน (ชน) ปุคฺคโล (บุคคล) เป็นต้น 11,0009,008,จะยกขึ้นแปลลอย ๆ หาได้ไม่. ในนามกิกต์นี้ท่านจัดเป็นสาธนะ และ 11,0009,009,สาธนะนั้น ล้วนหมายรู้ด้วยปัจจัย เพื่อให้มีเนื้อความแปลกกัน ดัง 11,0009,010,จะได้อธิบายต่อไป. 11,0009,011,สาธนะ 11,0009,012,"คำว่า สาธนะ นี้ ท่านแปลว่า ""ศัพท์ที่ท่านให้เสร็จมาแต่รูป" 11,0009,013,"วิเคราะห์"" หมายความว่า รูปสำเร็จมาจากการตั้งวิเคราะห์ คำ" 11,0009,014,ว่า วิเคราะห์ ก็หมายความว่า การแยกหรือกระจายศัพท์ออกให้เห็น 11,0009,015,ส่วนต่าง ๆ ของศัพท์ที่เป็นสาธนะ เช่นศัพท์ว่า คติ (ภูมิเป็นที่ไป) 11,0009,016,"ย่อมสำเร็จมาจากรูปวิเคราะห์ว่า "" คจฺฉาติ เอตฺถา-ติ"" เพราะฉะนั้น" 11,0009,017,คติ จึงเป็นตัวสาธนะ และคจฺฉนฺติ เอตฺถา-ติ เป็นรูปวิเคราะห์ เมื่อจะ 11,0009,018,เรียงให้เต็มทั้งรูปวิเคราะห์และสาธนะก็ต้องว่า คจฺฉนฺติ เอตฺถา-ติ คติ 11,0009,019,ในรูปวิเคราะห์นั่นเอง ย่อมเป็นเครื่องส่องให้ทราบสาธนะไปในตัว เช่น 11,0009,020,ในที่นี้ คำว่า เอตฺถ (ในภูมินั่น) เป็นสัตตมีวิภัตติ บ่งถึงสถานที่ ก็