Book,Page,LineNumber,Text 11,0008,001,"อาขยาตก็ได้ กิตก์ก็ได้ เช่น ภุญฺช, กรฺ ธาตุ ถ้าเป็นอาขยาตก็เป็น" 11,0008,002,"ภุญฺชติ, กโรติ. เป็นนามกิตก์ก็เป็น โภชนํ, โภชโก, กรณํ, การโก," 11,0008,003,"เป็นกิริยากิตก์เป็น ภุญฺชนฺโต, ภุญฺชิตฺวา, ภุตฺโต, กโรนฺโต, กตฺวา," 11,0008,004,กโต. เป็นต้น. 11,0008,005,อนึ่ง บางคราวก็ใช้นามศัพท์มาปรุงเป็นกิริยากิตก์ก็ได้เช่นเดียว 11,0008,006,กับอาขยาต เช่น :- 11,0008,007,อาขยาต กิริยากิตก์ 11,0008,008,ศัพท์นามนามว่า ปพฺพ (ภูเขา) ปพฺพตายติ ปพฺพตายนฺโต 11,0008,009,"ศัพท์คุณนามว่า จิร (นาม, ชักช้า) จิรายติ จิรายนฺโต" 11,0008,010,ฉะนั้น จึงรวมความว่า อาขยาต ใช้ธาตุและนามศัพท์เป็นตัวตั้ง 11,0008,011,สำหรับปรุงได้ฉันใด กิตก์ก็ใช้ได้ฉันนั้น แต่ต้องยืมปัจจัยในอาขยาต 11,0008,012,"มาลงด้วยในที่บางแห่ง เช่น อาย, อิย ปัจจัยในอุทาหรณ์นี้เป็นต้น." 11,0008,013,นามกิตก์ 11,0008,014,คำว่า นามกิตก์ ในที่นี้ ท่านหมายถึงกิตก์ที่ใช้เป็นนาม และ 11,0008,015,คำว่า นาม ก็หมายเฉพาะถึงศัพท์ธาตุที่นำมาประกอบปัจจัยในกิตก์นี้ 11,0008,016,เมื่อสำเร็จรูปแล้วใช้ได้ ๒ อย่าง คือ ใช้เป็นนามนาม ๑ คุณนาม ๑ 11,0008,017,มิได้หมายถึงศัพท์ที่เป็นนามนามและคุณนามโดยกำเนิด เช่น รุกฺข 11,0008,018,(ต้นไม้) จมู (เสนา) ทกฺข (ขยัน) นีล (เขียว) เป็นต้น. กิตก์ที่ 11,0008,019,สำเร็จรูปเป็นนามนาม หมายถึงธาตุคือกิริยาศัพท์ที่เป็นมูลรากซึ่งนำ 11,0008,020,มาประกอบปัจจัยในนามกิตก์แล้ว ใช้ได้ตามลำพังตัวเอง ไม่ต้องหา