Book,Page,LineNumber,Text 11,0007,001,อย่าง ๑ คำว่า นามศัพท์นั้นหมายความกว้าง อาจหมายถึงนามศัพท์ 11,0007,002,"ที่เป็นนามนามทั้งหมดซึ่งเป็นนามโดยกำเนิดก็ได้, นามศัพท์ที่ปรุงขึ้น" 11,0007,003,"จากธาตุและใช้เป็นบทนามก็ได้, คุณนามโดยกำเนิด และคุณนามที่" 11,0007,004,"ปรุงขึ้นจากธาตุก็ได้, และสัพพนามด้วยก็ได้. คำว่า กิริยาศัพท์ ก็เช่น" 11,0007,005,"เดียวกัน อาจหมายถึงศัพท์ที่กล่าวกิริยาทั้งสิ้นเช่นกิริยาอาขยาตก็ได้, " 11,0007,006,"หมายถึงกิริยาที่ใช้ในกิตก์ก็ได้, ฉะนั้นเพื่อจำกัดความให้สั้นและแคบ" 11,0007,007,เข้า เพื่อให้หมายความเฉพาะในเรื่องกิตก์ คำว่า นามศัพท์ในที่นี้ ท่าน 11,0007,008,หมายเฉพาะนามศัพท์ที่สำเร็จรูปมาจากธาตุอย่างเดียว ไม่ใช่นาม- 11,0007,009,ศัพท์โดยกำเนิด และนามศัพท์ในกิตก์นี้เป็นได้เฉพาะนามนามอย่าง ๑ 11,0007,010,"คุณนามอย่าง ๑ เท่านั้น รวมเรียกชื่อว่า ""นามกิตก์"" หมายถึงกิตก์" 11,0007,011,ที่ใช้เป็นนาม และคำว่า กิริยาศัพท์ ก็หมายเฉพาะกิริยาที่ใช้ประกอบ 11,0007,012,ปัจจัยในกิตก์อย่างเดียวเท่านั้น ไม่หมายถึงกิริยาอาขยาตด้วย รวม 11,0007,013,"เรียกชื่อว่า ""กิริยากิตก์"" หมายความว่า กิตก์ที่ใช้เป็นกิริยา." 11,0007,014,ธาตุกิตก์ 11,0007,015,ในกิตก์ทั้ง ๒ นี้ คือ ทั้งนามกิตก์และกิริยากิตก์ ล้วนมีธาตุเป็นที่ 11,0007,016,ตั้ง คือสำเร็จมาจากธาตุทั้งสิ้น แต่ธาตุใช้อย่างเดียวกับอาขยาต 11,0007,017,หาแปลกกันไม่ จะต่างรูปกันก็ในเมื่อใช้เครื่องปรุงต่างฝ่ายเข้าประกอบ 11,0007,018,เท่านั้น คือถ้าใช้เครื่องปรุงฝ่ายอาขยาต ธาตุนั้นเมื่อสำเร็จรูปก็กลาย 11,0007,019,เป็นอาขยาตไป แต่ถ้าใช้เครื่องปรุงฝ่ายกิตก์ ธาตุนั้นก็มีรูปสำเร็จ 11,0007,020,เป็นกิตก์ไปเท่านั้น เพราะฉะนั้น ธาตุเป็นตัวกลาง อาจปรุงเป็น