Book,Page,LineNumber,Text
11,0006,001,๔. บอกผู้ใช้ให้เขาทำ เป็นเหตุกัตตุวาจก เมื่อจะให้เป็นรูปนี้
11,0006,002,ก็ต้องนำปัจจัยที่ใช้ในเหตุกัตตุวาจกมาประกอบ เช่น อนฺต ปัจจัย
11,0006,003,"เป็นต้น เมื่อนำมาประกอบกับ กรฺ ธาตุก็จะได้รูปเป็น การาเปนฺโต,"
11,0006,004,"การาเปนฺตา, การาเปนฺตํ.(ยืม ณาเป ปัจจัยในอาขยาตมาใช้ด้วย) "
11,0006,005,ตามลิงค์ของตัวประธาน ประกอบเป็นประโยคว่า วฑฺฒกี ปุริเส อิมํ
11,0006,006,ฆรํ การาเปนฺโต. นายช่าง ยังบุรุษทั้งหลาย ให้ทำอยู่ ซึ่งเรือนนี้.
11,0006,007,๕. บอกสิ่งที่เขาใช้ให้คนอื่นทำ เป็นเหตุกัมมวาจก เมื่อจะให้
11,0006,008,เป็นรูปนี้ ก็ต้องนำปัจจัยที่ใช้ในเหตุกัมมวาจกมาประกอบ เช่น มาน
11,0006,009,ปัจจัยเป็นต้น ปัจจัยนี้เมื่อนำมาประกอบกับ กรฺ ธาตุ ก็จะได้รูปเป็น
11,0006,010,"การาปิยมาโน, การาปิยมานา, การาปิยมานํ. (ยืม ณาเป และ ย ปัจจัย"
11,0006,011,อิ อาคมในอาขยาตมาใช้ด้วย) ตามลิงค์ของตัวประธาน ประกอบ
11,0006,012,ให้เป็นประโยคว่า อิทํ ฆรํ วฑฺฒกินา ปุริเสหิ การาปิยามานํ. เรือนนี้
11,0006,013,อันนายช่าง ยังบุรุษทั้งหลาย ให้ทำอยู่.
11,0006,014,ดังตัวอย่างที่แสดงมานี้ เราจะเห็นได้แล้ว กรฺ ธาตุตัวเดียว
11,0006,015,เมื่อนำปัจจัยในฝ่ายกิริยากิตก์มาประกอบแล้ว อาจหมายเนื้อความได้เป็น
11,0006,016,อเนก ตามปัจจัยที่นำมาประกอบนั้น ๆ แม้ปัจจัยตัวเดียวกันนั่นเอง
11,0006,017,ก็ยังอาจแปลงเนื้อความได้มากเช่นเดียวกัน แล้วแต่ปัจจัยนั้น ๆ จะ
11,0006,018,ใช้หมายวาจกอะไรได้บ้าง.
11,0006,019,กิตก์ ๒ อย่าง
11,0006,020,กิตก์เมื่อสำเร็จรูปแล้ว เป็นนามศัพท์อย่าง ๑ เป็นกิริยาศัพท์