Book,Page,LineNumber,Text
11,0005,001,วิเสสนะ เมื่อประกอบให้เป็นประโยคก็ต้องว่า วฑฺฒกี อติวิยโสภํ ฆรํ
11,0005,002,กโรนฺโต นายช่าง ทำอยู่ ซึ่งเรือน งามจริง นี้เป็นรูปกัตตุวาจก
11,0005,003,เพราะยกผู้ทำขึ้นเป็นประธาน คือบอกผู้ทำนั่นเอง.
11,0005,004,๒. บอกสิ่งที่เขาทำ เป็นกัมมวาจก เมื่อจะให้เป็นรูปนี้ ก็นำ
11,0005,005,ปัจจัยที่ปรุงกิริยาศัพท์ให้เป็นกัมมวาจามาประกอบ เช่น ต อนีย ตพฺพ
11,0005,006,ปัจจัยเป็นต้น เช่น กรฺ ธาตุ นำ ต ปัจจัย มาประกอบก็ได้รูปเป็น
11,0005,007,"กโต, กตา, กตํ. ตามรูปลิงค์ของนามศัพท์ที่เป็นประธานในประโยค"
11,0005,008,"ในที่นี้ยกคำว่า ""เรือนนี้นายช่างทำงามจริง"" ขึ้นเป็นอุทาหรณ์ ถ้า"
11,0005,009,จะประกอบให้เป็นประโยคก็ต้องว่า อิทํ ฆรํ วฑฺฒกิยา อติวิยโสภํ
11,0005,010,กตํ. เรือนนี้ อันนายช่าง ทำแล้ว งามจริง นี้เป็นรูปกัมมวาจก เพราะ
11,0005,011,"ยกคำว่า "" ฆรํ"" (เรือน) ขึ้นเป็นประธาน คือบอกสิ่งที่เขาทำนั่นเอง."
11,0005,012,๓. บอกแต่อาการที่ทำ ไม่ยกกัตตา (ผู้ทำ) ซึ่งเป็นตัวประธาน
11,0005,013,และกรรม (ผู้ถูกทำ) ขึ้นพูด กล่าวขึ้นมาลอย ๆ เมื่อจะให้เป็นรูปนี้
11,0005,014,ก็นำปัจจัยที่ปรุงกิริยาศัพท์ให้เป็นภาววาจก มี ตพฺพ ปัจจัยเป็นต้นมา
11,0005,015,ประกอบ เช่น ภู ธาตุ นำ ตพฺพ ปัจจัยมาประกอบ ก็ได้รูปเป็น
11,0005,016,ภวิตพฺพํ (พฤทธิ์ อู ที่ ภู เป็น โอ แล้วเอาเป็น อว ลง อิ อาคม
11,0005,017,ภาววาจกนี้ใช้เป็นรูปนปุํสกลิงค์เสมอไป ) ประกอบให้เป็นประโยคเช่น
11,0005,018,การเณเนตฺถ (การเณน+เอตฺถ) ภวิตพฺพํ. อันเหตุ ในสิ่งนั้น พึงมี.
11,0005,019,ในที่นี้ การที่มิได้ยก กรฺ ธาตุเป็นตัวอย่าง ก็เพราะ กรฺ ธาตุ
11,0005,020,เป็นธาตุมีกรรมจะใช้ในภาววาจกไม่เหมาะ จึงได้ยกเอา ภู ธาตุซึ่งเป็น
11,0005,021,ธาตุไม่มีกรรมขึ้นมาเป็นอุทาหรณ์แทน.