Book,Page,LineNumber,Text 11,0002,001,"คำว่ากิตก์นี้มีมูลเดิมมาจาก กิร ธาตุ ในความเรี่ยราย, กระจาย" 11,0002,002,กัตตุรูป กัตตุสาธนะ วิเคราะห์ว่า กิตปจฺจเยน กิรตีติ กิตโก (ศัพท์ใด) 11,0002,003,ย่อมเรี่ยราย ด้วยปัจจัยกิตก์ เหตุนั้น (ศัพท์นั้น) ชื่อว่ากิตก์. 11,0002,004,ศัพท์ที่ปัจจัยปรุงแต่งเป็นนามศัพท์ 11,0002,005,ศัพท์ต่าง ๆ ที่ปัจจัยในกิตก์ปรุงให้สำเร็จรูปเป็นนามศัพท์แล้ว 11,0002,006,นามศัพท์นั้น ๆ ย่อมมีความหมาย แตกต่างกันออกไปตามปัจจัยที่ 11,0002,007,ประกอบนั้น ๆ ไม่ต้องกล่าวถึงศัพท์ที่ประกอบด้วยปัจจัยต่าง ๆ กัน 11,0002,008,ย่อมมีความหมายผิดแผกแตกต่างกันออกไป แม้ศัพท์เดียวกัน และ 11,0002,009,ประกอบปัจจัยตัวเดียวกันนั่นเอง ยังมีความหมายแตกต่างออกไป 11,0002,010,ได้หลายอย่าง แล้วแต่ความมุ่งหมายของปัจจัยที่ประกอบเข้ากับศัพท์ 11,0002,011,จะใช้ความหมายว่ากระไรได้บ้าง ในส่วนรูปที่เป็นนามศัพท์ ดังที่ท่าน 11,0002,012,ยกศัพท์ว่า ทาน ขึ้นมาเป็นอุทาหรณ์ในแบบนั้น ศัพท์นี้มูลเดิมมาจาก 11,0002,013,ทา ธาตุ ในความให้ ลง ยุ ปัจจัย แล้วแปลง ยุ เป็น อน ได้รูปเป็น 11,0002,014,ทาน ถ้าจะให้เป็นรูปศัพท์เดิม ต้องลง สิ ปฐมาวิภัตติ นปุํสกลิงค์ 11,0002,015,ได้รูป ทานํ ศัพท์นี้แหละอาจแปลได้ถึง ๔ นัย คือ :- 11,0002,016,๑. ถ้าเป็นชื่อของสิ่งของที่จะพึงสละเป็นต้นว่า ข้าว น้ำ เงิน ทอง 11,0002,017,"ก็ต้องแปลเป็นรูปกัมมสาธนะว่า "" วัตถุอันเขาพึงให้"" แยกรูปออก" 11,0002,018,ตั้งวิเคราะห์ว่า ทาตพฺพนฺติ ทานํ. [ ยํ วตฺถุ สิ่งใด เตน อันเขา ] พึงให้ 11,0002,019,เหตุนั้น [ ตํ วตฺถุ สิ่งนั้น ] ชื่อว่า ทานํ [ อันเขาพึงให้ ]. เช่นสนคำว่า 11,0002,020,ทานวตฺถุ สิ่งของอันเขาพึงให้. 11,0002,021,๒. ถ้าเป็นชื่อของการให้ คือเพ่งถึงกิริยาอาการของผู้ให้ แสดง