Book,Page,LineNumber,Text 10,0044,001,เป็นต้น แต่ถ้าธาตุเหล่านี้ถูกนำไปประกอบกับอุปสัค คืออุปสัค 10,0044,002,นำหน้าแล้ว ความของกิริยาหาคงอยู่ตามรูปเดิมไม่ ย่อมเปลี่ยนแปลง 10,0044,003,ไปได้ แล้วแต่ความหมายของอุปสัคจะทำหน้าที่เช่นไร. 10,0044,004,อุปสัคสังหารธาตุ ได้แก่อุปสัตที่เมื่อใช้นำหน้าธาตุที่ประกอบ 10,0044,005,เป็นกิริยาศัพท์แล้ว ทำให้คำแปลของธาตุเดิมเปลี่ยนไปผิดรูป จนถึง 10,0044,006,ตรงกันข้าม คือจะใช้คำแปลของธาตุเดิมไม่ได้ เช่น อุ. นิกฺขมติ 10,0044,007,"ออกไป เป็น นิ อุปสัค ขมฺ ธาตุ ในความอดทน, อาคจฺฉนฺติ มา" 10,0044,008,"เป็น อา อุปสัค คมฺ ธาตุ ในความไป, เช่นนี้ เราจะเห็นได้แล้วว่า" 10,0044,009,ผิดจากคำแปลของธาตุเดิมอย่างตรงกันข้ามทีเดียว จะแปลตามความ 10,0044,010,หมายของธาตุเดิมไม่ได้เลย. 10,0044,011,อุปสัคเบียนธาตุ ได้แก่อุปสัคที่เมื่อใช้นำหน้าธาตุที่ประกอบ 10,0044,012,เป็นกิริยาศัพท์แล้ว ทำให้คำแปลของธาตุเดิมเปลี่ยนไปบ้างเล็กน้อย 10,0044,013,แต่ไม่ถึงกับกลับความจนผิดรูปเดิม. ยังพอสังเกตต้นเค้าของธาตุเดิม 10,0044,014,ได้ เช่น อุ. ปฏิกฺกมติ ถอยกลับ เป็น ปฏิ อุปสัค กมฺ ธาตุ 10,0044,015,"ในความก้าวไป, อธฺคจฺฉติ บรรลุ เป็น อธิ อุปสัต คมฺ ธาตุ ใน" 10,0044,016,ความถึง เช่นนี้ เราจะเห็นได้แล้วว่า คำแปลของธาตุเปลี่ยนไปบ้าง 10,0044,017,แต่ยังใช้ความหมายของธาตุเล็งเนื้อความ. 10,0044,018,อุปสัคคล้อยตามธาตุ ได้แก่อุปสัคที่เมื่อใช้นำหน้าธาตุที่ 10,0044,019,ประกอบเป็นกิริยาศัพท์แล้ว ไม่ทำให้คำแปลของธาตุเดิมเปลี่ยนไป 10,0044,020,เป็นเพียงส่งเสริมทำให้ธาตุมีความหมายแรงขึ้นกว่าเดิม เช่น อุ. 10,0044,021,"อปคจฺฉติ หลีกไป เป็น อป อุปสัค คมฺ ธาตุ ในความไป, อติกฺกมติ"