Book,Page,LineNumber,Text 10,0043,001,ช่วยสนับสนุนเพิ่มเนื้อความให้กระจ่าง ถ้าขาดตัวกรรมเสียย่อมทำให้ 10,0043,002,เสียความ และทำให้ผู้ฟังไม่เข้าใจความหมายของผู้พูด ธาตุเช่นนี้ 10,0043,003,เป็น สกัมมธาตุ เช่น ปจฺ ธาตุ ในความหุง-ต้ม ถ้ากล่าวเพียงว่า 10,0043,004,หุง-ต้ม เท่านั้น ยังหาทำให้ผู้ฟังเข้าในความหมายได้พอเพียงไม่ 10,0043,005,ไม่ทราบว่า หุงต้มอะไร ยังเป็นเหตุให้ถามอยู่ร่ำไป ถ้าขืนไม่เพิ่ม 10,0043,006,กรรมเข้ามา ย่อมผิดต่อภาษานิยม เพราะทำให้ขาดความไป ต่อ 10,0043,007,เมื่อเลือกตัวกรรมเพิ่มเข้าสักตัวหนึ่ง ว่า โอทนํ (ซึ่งข้าว) ย่อม 10,0043,008,ทำให้เนื้อความสนิท ฟังไพเราะหู ถูกต้องตามภาษานิยม ฉะนั้น 10,0043,009,ในธาตุเช่นนี้พึงลงสันนิษฐานว่าเป็น สกัมมธาตุ ต้องเรียงหาตัวกรรม 10,0043,010,เสมอ จะขาดมิได้เลย. 10,0043,011,ธาตุกลับความหมาย 10,0043,012,ได้กล่าวแล้วว่า อุปสัค เมื่อใช้นำหน้าธาตุแล้ว ย่อมทำ 10,0043,013,ความหมายของธาตุเดิมให้เปลี่ยนผิดปกติไปได้ เมื่อจะกล่าวถึง 10,0043,014,หน้าที่ของอุปสัคที่ใช้นำหน้าธาตุโดยส่วนสำคัญแล้ว ก็อาจจำแนกได้ 10,0043,015,เป็น ๓ คือ อุปสัคเบียนธาตุ ๑ อุปสัคสังหารธาตุ ๑ อุปสัคคล้อย 10,0043,016,ตามความหมายของธาตุ ๑. การแปลกิริยาศัพท์ต่าง ๆ เป็นภาษาไทย 10,0043,017,ตามธรรมดาย่อมแปลตามความของธาตุ ธาตุตัวใดมีนิยมให้แปล 10,0043,018,เป็นภาษาไทยว่ากระไร ก็ต้องแปลไปตามความนิยมที่บัญญัติไว้นั้น 10,0043,019,"เช่น กรฺ ธาตุ บัญญัติให้แปลว่า ""ทำ"" คมฺ ธาตุ ให้แปลว่า" 10,0043,020,"""ไป, ถึง."" เมื่อประกอบให้เป็นกิริยาว่า กโรติ ก็แปลว่า ""ย่อม" 10,0043,021,"ทำ, ทำอยู่, จะทำ."" คจฺฉติ ""ย่อมไป, ไปอยู่, จะไป."" เช่นนี้"