Book,Page,LineNumber,Text 10,0041,001,เป็น อา อี อู เอ โอ หรือมีพยัญชนะสังโยค ให้คงไว้ตามเดิม 10,0041,002,"ไม่ต้องทำตามวิธีดังกล่าวแล้ว อุ. ตกฺเกติ, มนฺตยติ, จินฺเตติ," 10,0041,003,"จินฺตยติ, เป็นต้น สำหรับธาตุในหมวดนี้ ไม่มีที่ลงปัจจัยในหมวด" 10,0041,004,"อื่น ลงได้เฉพาะ เณ, ณย ปัจจัย เท่านั้น จึงมิได้แสดงวิธีเปลี่ยน" 10,0041,005,แปลงไว้. 10,0041,006,ธาตุ ๒ 10,0041,007,บรรดาธาตุทั้งหมด จะเป็นธาตุใน ๘ หมวดที่กล่าวแล้วนี้ก็ดี 10,0041,008,ธาตุอื่น ๆ ซึ่งนอกจากนี้ก็ดี เมื่อจะกล่าวให้สั้นโดยรวบยอดแล้ว 10,0041,009,ก็คงมีเพียง ๒ คือ อกัมมธาตุ ๑ สกัมมธาตุ ๑ ธาตุตัวใดสำเร็จ 10,0041,010,เนื้อความในตัวเอง ไม่ต้องอาศัยกรรมอื่นสิ่งที่บุคคลทำเป็นเครื่องบ่ง 10,0041,011,เนื้อความ คือไม่ต้องเรียกหากรรม ธาตุตัวนั้นเรียกว่า อกัมมธาตุ 10,0041,012,"(ธาตุไม่มีกรรม), ธาตุตัวใดไม่สำเร็จเนื้อความในตัวเอง ต้อง" 10,0041,013,อาศัยกรรมเป็นเครื่องบ่ง คือต้องเรียกหากรรม ธาตุตัวนั้นเรียกว่า 10,0041,014,สกัมมธาตุ (ธาตุมีกรรม). 10,0041,015,วิธีสังเกตธาตุ ๒ 10,0041,016,ตามที่ท่านกล่าวไว้ในแบบว่า ธาตุที่หมายดอกจันทร์ไว้เป็นธาตุ 10,0041,017,มีกรรม ที่มิได้หมายไว้เป็นธาตุไม่มีกรรม ก็เพื่อชี้แนวทางให้สังเกต 10,0041,018,ว่า ธาตุทั้ง ๒ นี้ มีความหมายต่างกันอย่างไร เมื่อเราใช้ความ 10,0041,019,สังเกตให้ถ่องแท้แล้ว จะเห็นได้ว่า ธาตุที่หมายดอกจันทน์ไว้ทุกตัว 10,0041,020,ล้วนเป็นธาตุที่ไม่สำเร็จความในตัวเอง ยังต้องเรียกหากรรม ซึ่ง