Book,Page,LineNumber,Text 10,0031,001,๖. ธาตุ 10,0031,002,ศัพท์ที่เป็นมูลราก คือเป็นต้นเดิมหรือรากเง่าสำหรับให้เครื่อง 10,0031,003,"ปรุงเหล่าอื่นเข้าประกอบ เรียกว่า ธาตุ ตามพยัญชนะแปลว่า ""ทรง""" 10,0031,004,หมายความว่า ทรงไว้ซึ่งเนื้อความของตน ได้แก่ทรงตัวอยู่เช่นนั้น 10,0031,005,จะแยกหรือกระจายออกไปอีกไม่ได้ เนื้อความของตนมีอยู่อย่างไร 10,0031,006,็ก็คงเนื้อความไว้เช่นนั้น ไม่เปลี่ยนแปลง เว้นแต่บางคราวที่มีอุปสัค 10,0031,007,บางตัวนำหน้า ก็อาจเปลี่ยนเนื้อความผิดไปจากเนื้อความเดิมได้แต่ 10,0031,008,้ถ้าโดยลำพังตัวแล้ว หาเปลี่ยนแปลงไม่. บรรดาสรรพสิ่งต่าง ๆ ตลอด 10,0031,009,ถึงคนและสัตว์ ล้วนต้องมีธาตุเป็นมูลเดิม คือต้องประกอบด้วยธาตุ 10,0031,010,ประชุมกัน จึงเกิดเป็นรูปร่างขึ้นฉันใด แม้กิริยาอาขยาตก็ฉันนั้น 10,0031,011,ที่จะสำเร็จเป็นรูปขึ้น ล้วนมีธาตุเป็นตัวดั้งเดิม กล่าวโดยทั่วไป 10,0031,012,บรรดาศัพท์กิริยาทั้งหมด ล้วนต้องมีธาตุเป็นแดนเกิดก่อนทั้งนั้น ถึง 10,0031,013,แม้ศัพท์นามก็เช่นกัน แต่โดยที่ศัพท์นาม เราใช้กันมาจนชินเสีย 10,0031,014,แล้ว จึงไม่จำเป็นต้องค้นถึงธาตุ ความจริงก็คงมาจากธาตุเช่นเดียว 10,0031,015,กับกิริยา ถ้าต้องการทราบละเอียด ก็อาจค้นหาธาตุได้เช่นเดียวกัน 10,0031,016,เครื่องปรุงอย่างอื่น มีวิภัตติเป็นต้น ที่จะใช้ประกอบได้ ล้วนต้อง 10,0031,017,ประกอบที่ธาตุ ถ้าขาดธาตุเสียอย่างเดียว เครื่องปรุงต่าง ๆ ก็ไร 10,0031,018,ประโยชน์ เพราะไม่มีตัวตั้งให้ประกอบ เมื่อมีธาตุ เครื่องปรุงต่างๆ 10,0031,019,"จึงเข้าประกอบได้ เช่น อุ. ว่า กโรติ, วทติ. ศัพท์กิริยาเหล่านี้ ต้อง" 10,0031,020,ตั้ง กรฺ หรือ วทฺ ธาตุก่อน แล้วจึงใช้ วิภัตติ ปัจจัย ประกอบต่อไป 10,0031,021,ภายหลัง ต่อนั้น วิภัตติ ปัจจัย จึงเป็นเครื่องส่องให้ทราบถึง กาล