Book,Page,LineNumber,Text 10,0027,001,ด้วยวิภัตติฝ่ายปฐมบุรุษ ส่วนบุรุษ และ อุตตมบุรุษ คงใช้ 10,0027,002,ตุมฺห และ อมฺห ศัพท์เช่นเดียวกัน. 10,0027,003,บุรุษของกิริยากับนามต้องตรงกัน 10,0027,004,กิริยาศัพท์ที่ประกอบด้วยวิภัตติกับตัวประธาน นอกจากจะ 10,0027,005,ต้องมี วจนะ เสมอกันแล้ว ยังต้องมีบุรุษตรงกันอีก คือ ถ้า 10,0027,006,นามนาม หรือ สัพพนามใดเป็นประธาน กิริยาศัพท์ของประธานนั้น ๆ 10,0027,007,ต้องเป็นบุรุษนั้น ๆ ตาม จะต่างบุรุษกัน คือ ประธานเป็นบุรุษอย่าง 10,0027,008,หนึ่ง กิริยาเป็นบุรุษอย่างหนึ่ง หาได้ไม่ เช่น อุ. ว่า ชโน คจฺฉติ 10,0027,009,"ชนไปอยู่, โส ทานํ เทติ เขาให้อยู่ซึ่งทาน, ตวํ คจฺฉสิ ท่านย่อม" 10,0027,010,"ไป, อหํ กมฺมํ กโรมิ เราจะทำซึ่งการงาน, ตุมฺเห นิกฺขมถ ท่าน" 10,0027,011,"ทั้งหลายจงออกไป, มยํ เอวํ เวทยฺยาม เรา ท. พึงกล่าวอย่างนี้" 10,0027,012,เป็นต้น. 10,0027,013,ในบางคราวที่ใช้ในการพูดหรือการเขียน ท่านละตัวประธาน 10,0027,014,เสียไม่เรียงไว้ด้วย โดยถือเสียว่าเข้าใจกันอยู่แล้ว เพราะเหตุมีกฎ 10,0027,015,บังคับขีดขั้นไว้แล้วว่า บุรุษของตัวประธานกับกิริยาศัพท์ต้องตรงกัน 10,0027,016,เพราะฉะนั้น ในการพูดหรือการเขียน เป็นแต่เพียงประกอบกิริยาศัพท์ 10,0027,017,ให้ถูกต้องตามวิภัตติ ตรงตามบุรุษที่ตนประสงค์จะออกชื่อ ก็เป็น 10,0027,018,"อันเข้าใจกันได้เหมือนกัน เช่นจะเรียงคำในพากย์ไทยว่า ""เจ้าจงทำ" 10,0027,019,"อย่างนี้"" เรียงเป็นพากย์มคธแต่เพียงว่า ""เอวํ กโรหิ"" โดยมิต้อง" 10,0027,020,ใช้ ตฺวํ (ท่าน) ก็ได้ เพราะคำว่า กโรหิ ประกอบด้วย หิ วิภัตติ 10,0027,021,ซึ่งเป็นมัธยมบุรุษ เอกวจนะ จึงบ่งว่าเป็นกิริยาของ ตฺวํ ซึ่งเป็น