Book,Page,LineNumber,Text
10,0009,001,"แปลง เช่น ติ, อนฺติ ประกอบกับ จรฺ ธาตุ สำเร็จรูปเป็น จรติ, "
10,0009,002,"จรนฺติ. สิ, ถ ประกอบกับ ปจฺ ธาตุ สำเร็จรูปเป็น ปจสิ, ปจถ."
10,0009,003,ดังนี้เป็นต้น ฉะนั้น การที่จะสังเกตรู้วิภัตติอย่างง่าย ซึ่งเป็นเบื้องต้น
10,0009,004,ต้องดูที่ท้ายศัพท์ซึ่งเป็นธาตุ เมื่อทราบว่าศัพท์ใดเป็นธาตุแล้ว ส่วนที่
10,0009,005,เหลือซึ่งใช้ประกอบข้างหลังธาตุก็คงเป็นวิภัตติ แต่ยังมีเครื่องประกอบ
10,0009,006,อีกอย่างหนึ่ง ซึ่งลงประกอบกับธาตุเหมือนวิภัตติ เครื่องประกอบนี้คือ
10,0009,007,ปัจจัย เราจะสังเกตรู้ได้ คือ โดยมากปัจจัยมักลงหน้าวิภัตติ ดังนั้น
10,0009,008,เครื่องประกอบซึ่งลงที่ธาตุ อันปรากฏตัวให้เราสังเกตเห็นได้ ก็มีอยู่ ๒
10,0009,009,อย่างคือ วิภัตติ และปัจจัย นอกนั้น คือ กาล บท วจนะ บุรุษ วาจก.
10,0009,010,ไม่ปรากฏตัวให้เห็นได้ แต่อาศัยวิภัตติกับปัจจัยเป็นเครื่องบ่งให้ทราบ
10,0009,011,แต่นั่นแหละ ก็ยังมีบางวิภัตติที่ไม่คงตัวอยู่อย่างเดิม อาจเปลี่ยนแปลง
10,0009,012,ผิดไปจากรูปเดิมบ้าง ข้อนั้นต้องอาศัยการจดจำไว้เป็นพิเศษ จะยกมา
10,0009,013,แสดงในที่นี้ พอเป็นแนวทางการสังเกตและประดับความรู้บ้างเล็กน้อย.
10,0009,014,วิภัตติที่เปลี่ยนผิดรูป
10,0009,015,ติ ประกอบกับ อสฺ ธาตุ ซึ่งเป็นไปใน ความมี ความเป็น แปลง
10,0009,016,"เป็น ตฺถิ อุ. อตฺถิ. นตฺถิ, (กิริยานี้ใช้สำหรับตัวประธาน"
10,0009,017,ทั้งที่เป็นเอก. และพหุ.).
10,0009,018,"อนฺติ แปลงเป็น เร ได้บ้าง อุ. นายเร, อุปชฺชเร, วุจฺจเร, โสจเร,"
10,0009,019,ถ แปลงเป็น ตฺถ ในเมื่อประกอบกับ อสฺ ธาตุ อุ. อตฺถ.
10,0009,020,มิ ม ทั้งวัตตมานา และปัญจมี ถ้าสรหน้าเป็น ทีฆะ อยู่แล้ว