Book,Page,LineNumber,Text 10,0006,001,มีอยู่ในที่นั้น เมื่อกล่าวถึงวิภัตติ ก็เป็นเหตุให้เกี่ยวโยงถึงด้วย ธาตุ 10,0006,002,ที่สำคัญก็เพราะว่าเป็นรากเง่าของศัพท์กิริยาทั้งหมด อาขยาตทั้งหมด 10,0006,003,ต้องอาศัยธาตุเป็นรากเง่า จึงนับว่าเป็นเหตุอันสำคัญยิ่ง ซึ่งได้เกิดผล 10,0006,004,เป็นอาขยาต เพราะถ้าขาดธาตุ เครื่องประกอบอื่น ๆ ก็หาประโยชน์ 10,0006,005,อะไรมิได้ โดยเหตุที่ไม่มีตัวตั้งสำหรับจะปรุง. ปัจจัยเป็นเครื่องอาศัย 10,0006,006,ปรากฏของวาจา เมื่อปัจจัยปรากฏก็เป็นเครื่องชี้ให้ทราบวาจกได้จึงนับ 10,0006,007,เป็นเครื่องปรุงที่สำคัญยิ่งส่วนหนึ่ง เหตุฉะนั้น เมื่อจะกล่าวถึงเครื่อง 10,0006,008,ปรุงของอาขยาตแต่โดยย่อ เฉพาะที่สำคัญที่สุดก็มี ๓ คือ วิภัตติ ธาตุ 10,0006,009,ปัจจัย เท่านั้น นอกจากนั้นเป็นเครื่องช่วยเหลือทำหน้าที่ โดยต้อง 10,0006,010,อาศัยเครื่องปรุงทั้ง ๓ นี้เป็นหลัก ดังจะได้อธิบายเป็นลำดับต่อไปนี้ :- 10,0006,011,๑. วิภัตติ 10,0006,012,"วิภัตติ ได้แก่อะไร ? คำว่า ""วิภิตติ"" นี้ เมื่อจะแปลตาม" 10,0006,013,"พยัญชนะก็ว่า ""แจก"" หรือ ""แบ่ง"" หมายความว่า แบ่งแยกมูลศัพท์" 10,0006,014,ออกไปเป็นส่วน ๆ เพื่อจะจำแนกศัพท์แล้วจัดได้เป็นหมวดหมู่ เป็นการ 10,0006,015,สะดวกแก่การที่จะเข้าใจความหมายของศัพท์ที่ประกอบด้วยวิภัตตินั้นๆ 10,0006,016,แล้วแต่วิภัตตินั้น ๆ จะประกอบกับศัพท์เช่นไร วิภัตตินี้มีที่ใช้อยู่ ๒ 10,0006,017,แผนก คือ แผนกนาม เรียกว่า วิภัตตินาม ๑ แผนกกิริยา เรียกว่า 10,0006,018,วิภัตติอาขยาต ๑. วิภัตติซึ่งอยู่ใน ๒ แผนกนี้ ย่อมมีหน้าที่ทำคนละ 10,0006,019,อย่าง หาเหมือนกันไม่. หากจะมีคำถามสอดเข้ามาว่า วิภัตตินามก็มี 10,0006,020,อยู่แผนกหนึ่งแล้ว เหตุไฉนจึงเพิ่มวิภัตติอาขยาตเข้ามาอีก มิเป็นการ 10,0006,021,ซ้ำซากไปหรือ ? ก็ต้องตอบว่า หาซ้ำซากไม่ เพราะต่างแผนกต่างก็