Book,Page,LineNumber,Text
08,0013,001,วิภัตติ ส่วนวจนะในอาขยาตย่อมเป็นเครื่องหมายบุรุษ อนึ่ง วจนะนั้น
08,0013,002,ใช้เป็นเครื่องหมายความเคารพ เช่นผู้น้อยจะพูดกับผู้ใหญ่แม้คนเดียว
08,0013,003,โดยความเคารพ ท่านนิยมให้ใช้พหุวจนะ มีแต่ลิงค์กับวจนะเท่านั้น
08,0013,004,ยังไม่พอ ต้องมีวิภุตติเข้าประกอบ วิภัตตินั้นเป็นเครื่องหมายให้รู้
08,0013,005,วจนะได้ประการ ๑ นามศัพท์จึงจะใช้ให้สำเร็จประโยชน์ได้ดี.
08,0013,006,วิภัตติ
08,0013,007,ศัพท์นี้ แปลว่า แจกหรือจำแนกศัพท์ให้มีเนื้อความเนื่องถึงกัน
08,0013,008,ตามภาษาที่มีทั่วไป ในประเภทศัพท์ที่ไม่ใช่พวกอัพยยศัพท์ ลิงค์ก็ดี
08,0013,009,วจนะก็ดี ต้องอาศัยวิภัตติช่วยอุปภัมภ์สำหรับกำหนด เพราะในปุํลิงคฺ
08,0013,010,อิตถีลิงค์ และนปุํสกลิงค์ ต่างก็มีวิธีแจกไม่เหมือนกัน อนึ่ง วิภัตติกับ
08,0013,011,อายตนิบาตคือคำต่อก็หาเหมือนกันไม่ สิ. อํ. โย. เป็นต้น เรียกวิภัตติ.
08,0013,012,"ซึ่ง, ด้วย,แต่, จาก, ของ, เพื่อ, เป็นต้น เรียกอายตนิบาต บรรดา"
08,0013,013,ศัพท์ประกอบด้วยวิภัตติทุกเหล่า จะมีอายตนิบาตทุกศัพท์ก็หาไม่ ตาม
08,0013,014,ธรรมดาอายตนิบาตเนื่องจากวิภัตติแห่งนามนามและปุริสสัพพนาม อัน
08,0013,015,"ได้แก่ ต, ตุมฺห, อมฺห. ศัพท์ โดยตรง หรือ กึ ศัพท์บางคำเท่านั้น"
08,0013,016,นอกจากนี้หามิไม่ เช่นศัพท์ที่เป็นปฐมาวิภัตติไม่เนื่องด้วยอายตนิบาต
08,0013,017,เพราะเป็นประธาน ที่เนื่องนั้นตั้งแต่ทุติยาวิภัตติเป็นต้นไป และที่ต้อง
08,0013,018,แปลอายตนิบาตในทุติยาวิภัตติเป็นต้นก็เฉพาะตัวนามนามและสัพพนาม
08,0013,019,ส่วนคุณนามไม่ต้องแปลออกชื่ออายตนิบาต แต่ถ้าคุณยามใช้เพิ่มนามก็
08,0013,020,ต้องแปลด้วย ส่วนปฐมาวิภัตติที่นิยมแปลว่า อันว่า เป็นเพียงสำนวนใน
08,0013,021,ภาษาไทยเหน็บเข้ามาเพื่อมิให้เคอะเขินเท่านั้น หากจะไม่มีก็ไม่เป็นการ