Book,Page,LineNumber,Text
05,0236,001,กับบทที่มีวิภัตติเสมอกัน เรียกว่า ปทสมุจฺจโย. ในอรรถนี้ ใช้
05,0236,002,นิบาติคือ จ เป็นพื้น เรียกชื่อว่า สมุจฺจยตฺโถ. ตรงต่อนิบาติไทย
05,0236,003,"ที่ใช้ในระหว่างพากย์หรือบทว่า กับ, และ; ที่ใช้ข้างท้ายพากย์"
05,0236,004,"หรือบทว่า ด้วย, หนึ่ง, มีอุทาหรณ์วากยสมุจจยะดังนี้: ทานญฺจ "
05,0236,005,"ทสฺสาม ธมฺมญฺจ โสสฺสาม, ปทสมุจจยะดังนี้: เทสนาวสาเน"
05,0236,006,กุมาโร จ กุมาริกา จ โสตาปนฺนา อเหสุํ. ติสฺโส เวทนา:
05,0236,007,สุขญฺจ ทุกฺขญฺจ อทุกฺขมสุขญฺจ. ในอรรถนี้ ใช้ วา (บ้าง) ปิ
05,0236,008,(ทั้ง) บ้าง ห่าง ๆ. อุ. ธมฺมํ วา วินยํ วา ปริยาปุณิสฺสาม.
05,0236,009,สุตาวา อริยสาวโก รูปสฺมึ ปิ นิพฺพินฺทติ----วิญฺาณสฺมึ ปิ
05,0236,010,นิพฺพินฺทติ.
05,0236,011,สัมปณฑนิบาต
05,0236,012,๒. การบวกความท่อนหลัง ๆ เข้ากับความท่อนต้น ๆ เรียก
05,0236,013,ว่า สมฺปิณฺฑนํ ในอรรถนี้ ใช้นิบาตคือ จ เป็นพื้น เรียกชื่อว่า
05,0236,014,"สมฺปิณฺฑนตฺโถ, ตรงต่อนิบาตไทยว่า อนึ่ง, ซึ่งใช้ต้นพากย์ มี"
05,0236,015,อุทาหรณ์ดังนี้: อิธ ภิกฺขเว ภิกฺขุ สีลวา โหติ----ปุน จ ปรํ
05,0236,016,ภิกฺขเว ภิกฺขุ กลฺยาณมิตฺโต โหติ ฯ เป ฯ สัมปิณฑนะนี้ แปลก
05,0236,017,จาก วากยสมุจจยะ ด้วยมีกัตตาต่างจากกัตตาในความท่อนต้น.