Book,Page,LineNumber,Text
05,0228,001,เหตุโชตกนิบาต
05,0228,002,๓. ถ้าความท่อนต้นกล่าวผลซึ่งชวนให้ถามถึงเหตุว่าเป็นอย่างนั้น
05,0228,003,"เพราะอะไร, จึงกล่าวเหตุเสียในความท่อนหลังทีเดียว ไม่ต้องให้"
05,0228,004,ถาม; นิบาตซึ่งเป็นเครื่องหมายความข้อนี้ในท่อนหลัง เรียกชื่อว่า
05,0228,005,การณโชตโก หรือเรียกให้สั้นว่า เหตุ. ในอรรถนี้ใช้นิบาต ๓ ศัพท์
05,0228,006,"เหมือนวากยารัมภ, ตรงความไทยว่า เหตุว่า, เพราะว่า. มีอุทาหรณ์"
05,0228,007,ดังนี้: สพฺพวจนานํ อตฺโถ อกฺขเรเหว สญฺายเต. อกฺขรวิปตฺติยํ
05,0228,008,หิ อตฺถสฺส ทุนฺนยตา โหติ. (กัจจายนปกรณสันธิกัปปสูตรต้น)
05,0228,009,ความในท่อนต้น น่าชวนให้ถามว่า เหตุไฉน ความแห่งคำพูดทั้งปวง
05,0228,010,อาจารย์ต้องกำหนดหมายด้วยอักษรอย่างเดียว ในท่อนหลังจึง
05,0228,011,แสดงเสียทีเดียวว่า เหตุว่าเมื่ออักษรวิบัติ ความก็เป็นถ้อยคำที่
05,0228,012,นำต่อ ๆ กันไปไม่ถูกต้อง; เหตุนั้น ความในท่อนต้นชื่อว่ากล่าว
05,0228,013,ผล เพราะการที่ต้องหมายความแห่งคำพูดด้วยอักษรนั้น คงอาศัย
05,0228,014,"เหตุอย่างหนึ่ง, ความในท่อนหลังชื่อว่ากล่าวเหตุ เพราะการที่แสดงว่า"
05,0228,015,"เมื่ออักษรวิบัติ ความเสียเป็นเหตุให้คิดแก้ไขไม่ให้ความเสีย, การ"
05,0228,016,คิดแก้นั้น ก็คือจัดหมาย ด้วยอักษรที่ไม่วิบัติ ความใน ๒ ท่อนนั้น
05,0228,017,เป็นเหตุและผลเนื่องกันฉะนี้; หิ ในท่อนหลังนั้นเรียก การณโชตโก
05,0228,018,หรือ เหตุ เพราะส่องความที่เป็นเหตุ. อุทาหรณ์เป็นตัวอย่างดังนี้;
05,0228,019,"ภิชฺชติ ปูติสนฺเทโห, มรณนฺตํ หิ ชีวิตํ. (ธมฺมปทฏฺกถา ภาค ๕"
05,0228,020,เรื่องที่ ๑๒๐)