Book,Page,LineNumber,Text 04,0187,001,กิตก์ 04,0187,002,(๑๓๐) กิตก์นั้น เป็นชื่อของศัพท์ที่ท่านประกอบปัจจัยหมู่หนึ่ง 04,0187,003,ซึ่งเป็นเครื่องกำหนดหมายเนื้อความของนามศัพท์ และกิริยาศัพท์ที่ 04,0187,004,"ต่าง ๆ กัน, เหมือนนามศัพท์ที่เอามาใช้ในภาษาของเรา มี 'ทาน'" 04,0187,005,เป็นต้น ย่อมมีเนื้อความต่าง ๆ กัน. 'ทาน' นั้น เป็นชื่อของสิ่งของ 04,0187,006,"ที่จะพึงสละก็มี เหมือนคำว่า 'คนมีให้ทาน คนจนรับทาน' เป็นต้น," 04,0187,007,"เป็นชื่อของการให้ก็มี เหมือนคำว่า 'ผู้นี้ยินดีในทาน' เป็นต้น, เป็น" 04,0187,008,"ชื่อของเจตนาก็มี เหมือนคำว่า 'ทานมัยกุศล' เป็นต้น, เป็นชื่อของ" 04,0187,009,ที่ก็มี เหมือนคำว่า 'โรงทาน' เป็นต้น. ส่วนกิริยาศัพท์ มีคำว่า 04,0187,010,"'ทำ' เป็นต้น ก็มีเนื้อความต่างกัน, เป็นกัตตุวาจก บอกผู้ทำก็มี" 04,0187,011,"เหมือนคำว่า 'นายช่างทำงามจริง' เป็นต้น, เป็นกัมมวาจก บอกสิ่ง" 04,0187,012,ที่เขาทำก็มี เหมือนคำว่า 'เรือนนี้ทำงามจริง' เป็นต้น ศัพท์เหล่านี้ 04,0187,013,ในภาษามคธ ล้วนหมายด้วยปัจจัยทั้งสิ้น. 04,0187,014,กิตก์นั้น แบ่งออกเป็น ๒ ก่อน คือ เป็นนามศัพท์อย่าง ๑ 04,0187,015,เป็นกิริยาศัพท์อย่าง ๑. กิตก์ทั้ง ๒ อย่างนี้ ล้วนมีธาตุเป็นที่ตั้งทั้งสิ้น. 04,0187,016,ก็แต่ธาตุนั้น ไม่แปลกกันกับธาตุอาขยาตที่กล่าวแล้ว (๑๑๔) 04,0187,017,เพราะเหตุนั้น ในที่นี้ไม่ต้องว่าถึงธาตุอีก จะกล่าวแต่ที่แปลก. 04,0187,018,นามกิตก์ 04,0187,019,(๑๓๑) กิตก์ที่เป็นนามก็ดี เป็นคุณนามก็ดี เรียกว่า 04,0187,020,นามกิตก์ ๆ นี้จัดเป็นสาธนะ มีปัจจัยเป็นเครื่องหมายว่า ศัพท์นี้