Book,Page,LineNumber,Text 01,0012,001,พยัญชนะสังโยค 01,0012,002,[ ๑๓ ] ลักษณะที่จะประกอบพยัญชนะซ้อนกันได้นั้น ดังนี้ ใน 01,0012,003,พยัญชนะวรรคทั้งหลาย พยัญชนะที่ ๑ ซ้อนหน้าพยัญชนะที่ ๑ และ 01,0012,004,"ที่ ๒ ในวรรคของตนได้, พยัญชนะที่ ๓ ซ้อนหน้าพยัญชนะที่ ๓ และ" 01,0012,005,"ที่ ๔ ในวรรคของตนได้, พยัญชนะที่ ๕ สุดวรรค ซ้อนหน้าพยัญชนะ" 01,0012,006,"ในวรรคของตนได้ทั้ง ๕ ตัว ยกเสียงแต่ตัว ง ซึ่งเป็นตัวสะกดอย่างเดียว," 01,0012,007,"มิได้มีสำเนียงในภาษาบาลี ซ้อนหน้าตัวเองไม่ได้, พยัญชนะวรรค" 01,0012,008,"ที่ซ้อนกันดังนี้ก็ดี ตัว ย ล ส ซ้อนกัน ๒ ตัวก็ดี ไม่มีสระคั่น," 01,0012,009,พยัญชนะตัวหน้า เป็นตัวสะกดของสระที่อยู่หน้าตน ไม่ออกเสียง 01,0012,010,ผสมด้วยพยัญชนะตัวหลัง ส่วนพยัญชนะตัวหลัง อาศัยสระตัวหน้า 01,0012,011,ออกสำเนียง เมื่อพยัญชนะตัวใดสะกด จะมีเสียงเป็นอย่างไรนั้น ก็ 01,0012,012,เหมือนกับคำของเรา ไม่ต้องกล่าว แปลกกันแต่ในภาษาของเรา 01,0012,013,"ตัว ร ใช้สะกด และมีสำเนียงเป็นกน เหมือนคำว่า "" นคร "" เรา" 01,0012,014,"อ่านกันว่า "" นคอน "" เป็นต้น เป็นตัวอย่าง ในตันติภาษาทั้งปวง" 01,0012,015,ตัว ร ไม่เป็นตัวสะกดมีเสียงเป็น กน เลย. 01,0012,016,[ ๑๔ ] พยัญชนะ ๔ ตัว คือ ย ร ล ว ถ้าอยู่หลังพยัญชนะ 01,0012,017,"ตัวอื่น ออกเสียงผสมกับพยัญชนะตัวหน้า, ตัว ส มีสำเนียงเป็น" 01,0012,018,อุสุมะ ไม่มีคำเทียบในภาษาของเรา มีแต่ภาษาอังกฤษ เหมือน 01,0012,019,คำว่า AS เป็นต้น แม้ถึงเป็นตัวสะกดของสระตัวหน้าแล้ว ก็คงมีเสียง 01,0012,020,ปรากฏหน่อยหนึ่ง ประมาณกึ่งมาตราของสระสั้น พอให้รู้ได้ว่าตัว 01,0012,021,"ส สะกด ไม่ออกเสียงเต็มที่ เหมือนอาศัยสระ, ตัว ห นั้น ถ้าอยู่หน้า"