Book,Page,LineNumber,Text
46,0042,001,ไว้ในสูตรนี้ว่า พรหมจรรย์. บทว่า จตุรงฺคสมนฺนาคตํ ความว่า
46,0042,002,ประกอบด้วยองค์ ๔ ด้วยสามารถอาการเป็นไปแห่งตน ๔ อย่าง ที่
46,0042,003,"ยังกิริยาอันทำได้ยาก ๔ อย่างให้สำเร็จ."""
46,0042,004,ก็กิริยาอันทำได้ยาก ๔ อย่าง พึงตรวจดูในมหาสีหนาทสูตร.
46,0042,005,[ อุโบสถชื่อว่าพรหมจรรย์ ]
46,0042,006,[๕๐๔] อุโบสถอันประกอบด้วยองค์ ๘ ที่บุคคลทำด้วย
46,0042,007,สามารถฝึกตน ชื่อว่า พรหมจรรย์ ในนิมิชาดก๑ว่า
46,0042,008,""" บุคคล ย่อมเข้าถึงความเป็นกษัตริย์ ด้วยพรหม-"
46,0042,009,"จรรย์ชั้นต่ำ, ย่อมเข้าถึงความเป็นเทพด้วยพรหม-"
46,0042,010,"จรรย์ชั้นกลาง, ย่อมหมดจด ด้วยพรหมจรรย์"
46,0042,011,"ชั้นสูงสุด."""
46,0042,012,"[๕๐๕] อรรถกถา๒นิมิชาดกนั้นว่า "" บรรดาพรหมจรรย์ ๓ อย่าง"
46,0042,013,นั้น ศีลเพียงเมถุนวิรัติในลัทธิเดียรถีย์เป็นอันมาก ชื่อว่า พรหมจรรย์
46,0042,014,"ชั้นต่ำ, บุคคลย่อมเข้าถึงความเป็นกษัตริย์ด้วยพรหมจรรย์ชั้นต่ำนั้น."
46,0042,015,"ศีลเพียงอุปจารแห่งฌาน ชื่อว่า พรหมจรรย์ชั้นกลาง, บุคคลย่อมเข้าถึง"
46,0042,016,ความเป็นเทพ ด้วยพรหมจรรย์ชั้นกลางนั้น. ส่วนศีลที่ยังสมาบัติ ๘
46,0042,017,"ให้เกิด ชื่อว่า พรหมจรรย์ชั้นสูงสุด, บุคคลย่อมเกิดในพรหมโลก"
46,0042,018,ด้วยพรหมจรรย์สูงสุดนั้น. ชนภายนอก ( พุทธศาสนา ) ทั้งหลายกล่าว
46,0042,019,ความเกิดในพรหมโลกนั้นว่านิพพาน. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาค
46,0042,020,จึงตรัสว่า วิสุชฺฌติ.
46,0042,021,
46,0042,022, ๑. ขุ. ชา. มหา. ๒๘/๑๙๙. ๒. ชาตกฏฺกถา. ๙/๑๖๖.