Book,Page,LineNumber,Text 46,0010,001,"มรรคว่า ""ในคำว่า จกฺขุนฺทฺริเย สํวรํ อาปชฺชติ เป็นต้นนั้น สังวร" 46,0010,002,หรืออสังวรย่อมไม่มีในจักขุนทรีย์. ด้วยว่า ความระลึกได้ก็ดี ความ 46,0010,003,เป็นผู้มีสติฟั่นเฟือนก็ดี ย่อมไม่อาศัยจักษุประสาทเกิดขึ้น. ก็แต่ว่า 46,0010,004,"เมื่อใดรูปารมณ์มาสู่คลองจักษุ, เมื่อนั้น ครั้นภวังคจิตเกิดดับ ๒" 46,0010,005,"ครั้ง มโนธาตุฝ่ายกิริยา ยังกิจคือการนึกให้สำเร็จแล้วก็ดับไป," 46,0010,006,"แต่นั้นไป จักขุวิญญาณยังกิจคือการเห็นให้สำเร็จเกิดขึ้นแล้วดับไป," 46,0010,007,แต่นั้น มโนธาตุฝ่ายวิบากยังกิจคือการรับ ( อารมณ์ ) ให้สำเร็จ 46,0010,008,"เกิดขึ้นแล้วดับไป, แต่นั้น มโนวิญญาณธาตุอันเป็นอเหตุกวิบาก ยัง" 46,0010,009,"กิจคือการพิจารณาให้สำเร็จเกิดขึ้นแล้วดับไป, แต่นั้น มโนวิญญาณ-" 46,0010,010,ธาตุฝ่ายอเหตุกกิริยา ยังกิจคือการกำหนด ( อารมณ์ ) ให้สำเร็จ เกิด 46,0010,011,ขึ้นแล้วดับไป. ในลำดับนั้น ชวนจิตย่อมแล่นไป. บรรดาสมัยแห่ง 46,0010,012,ภวังคจิตเป็นต้นแม้นั้น สังวรหรืออสังวรย่อมไม่มีในสมัยแห่งภวังคจิต 46,0010,013,ทีเดียว ( และ ) ย่อมไม่มีในสมัยแห่งวิถีจิตมีอาวัชชนะเป็นต้นอย่างใด 46,0010,014,อย่างหนึ่งแม้โดยแท้. ถึงอย่างนั้น ถ้าโทษเครื่องทุศีลก็ดี ความเป็น 46,0010,015,ผู้มีสติฟั่นเฟือนก็ดี ความไม่รู้ก็ดี ความไม่อดทนก็ดี ความเกียจคร้าน 46,0010,016,"ก็ดี ย่อมเกิดขึ้นในขณะแห่งชวนะ, อสังวรย่อมมีได้. อสังวรนั้นแม้" 46,0010,017,"มีอยู่อย่างนั้น พระผู้มีพระภาค ก็ตรัสว่า ""ความไม่สำรวมในอินทรีย์" 46,0010,018,"คือจักษุ."" ถามว่า เพราะเหตุอะไร ? แก้ว่า เพราะเมื่อสังวรนั้นมีอยู่," 46,0010,019,ทวารก็ดี ภวังคจิตก็ดี วิถีจิตมีอาวัชชนะเป็นต้นก็ดี ย่อมเป็นอันภิกษุ 46,0010,020,ไม่คุ้มครองแล้ว. เปรียบเหมือนอะไร ? เปรียบเหมือนเมื่อประตู 46,0010,021,ทั้ง ๔ ด้านในพระนคร อันบุคคลไม่ระวังแล้ว ประตูภายในเรือน 46,0010,022, 46,0010,023,๑. วิ. ม. ๑/๒๖.