Book,Page,LineNumber,Text 45,0046,001,"ก็เป็นปัจจัยหยาบเป็นต้นนั่นเองมิใช่หรือ ? "" มีคำแก้ว่า ""ข้อนี้จริง. """ 45,0046,002,แม้ถึงกระนั้น ก็มีข้อแปลกกันอยู่ เพราะความสันโดษ ในอิตรีตร- 45,0046,003,ปัจจัยที่หยาบเป็นต้น ที่ตนได้แล้วอย่างไร ชื่อว่า ยถาลาภสันโดษ 45,0046,004,"( ยินดีตามได้ ) แท้, นอกนี้ไม่ชื่อว่า ยถาลาภสันโดษ. เพราะ" 45,0046,005,สันโดษนอกนี้นั้น อาศัยสักว่าปัจจัย อันพระมหากัสสปะไม่ปรารถนา 45,0046,006,โดยที่แท้ ท่านปรารถนาสันโดษเป็นที่อาศัยภาระคือความสมควรแก่ 45,0046,007,กำลังกายของตน ดังนี้แล. พึงเห็นสันนิษฐานว่า ก็ปัจจัย ๓ อย่าง 45,0046,008,( ข้างต้น ) มีปัจจัยที่หยาบเป็นต้น ย่อมมีได้ในจีวร. ปัจจัยอย่างกลาง 45,0046,009,ทั่วไปแก่ปัจจัย ๔ ส่วนปัจจัยที่สุด ย่อมมีได้ทั้งในจีวร ทั้งในเสนาสนะ. 45,0046,010,[๒๙๖] ก็ในฎีกาสามัญญผลสูตร กัสสปสังยุต และเอกนิบาต 45,0046,011,"อังคุตตรนิกาย ท่านกล่าวไว้ว่า "" อีกอย่างหนึ่ง วัตถุที่เลว" 45,0046,012,"ท่านเรียกว่า นอกนี้ เพราะความเป็นวัตถุอื่นจากวัตถุที่ประณีต, อนึ่ง" 45,0046,013,แม้วัตถุที่ประณีต ก็ชื่อว่า นอกนี้ เพราะความเป็นวัตถุอื่นจากวัตถุ 45,0046,014,"ที่เลว, ก็ความที่วัตถุเป็นของนอกนี้ สำเร็จแล้วด้วยความเพ่ง. """ 45,0046,015,"วัตถุนอกนี้ด้วย นอกนี้ด้วย ชื่อว่า อิตรีตรปัจจัย, อิตรีตร" 45,0046,016,"นั่นเอง ชื่อว่า ปัจจัย, ความสันโดษด้วยอิตรีตรปัจจัยนั้น ชื่อว่า" 45,0046,017,"อิตรีตรปัจจัยสันโดษ, อิตรีตรปัจจัยสันโดษนั้น คือความไม่โลภเทียว." 45,0046,018,เหตุนั้น ในอรรถกถา*เอกนิบาต อังคุตตรนิกาย พระอรรถกถาจารย์ 45,0046,019,"จึงกล่าวว่า "" ความสันโดษกล่าวคือความไม่โลภ ชื่อว่า สนฺตุฏฺ€ิตา.""" 45,0046,020,ฎีกาเอกนิบาต อังคุตตรนิกายนั้น และฎีกาสามัญญผลสูตรและ 45,0046,021, 45,0046,022,* มโน. ปู. ๑/๘๑.