Book,Page,LineNumber,Text 44,0003,001,[วิเคราะห์ทาน] 44,0003,002,"[๓] แม้ในอรรถกถากถาวัตถุ ท่านก็กล่าวว่า ""บรรดาทาน ๓" 44,0003,003,อย่างนั้น จาคเจตนาชื่อว่าทาน เพราะวิเคราะห์ว่า จาคเจตนาย่อม 44,0003,004,"ให้ไทยธรรม, อีกอย่างหนึ่ง ชนทั้งหลายย่อมให้ไทยธรรมด้วยเจตนา" 44,0003,005,นั่น. วิรัติชื่อว่าทาน เพราะอรรถว่าบั่นรอน และเพราะอรรถว่าตัด. 44,0003,006,แท้จริง วิรัตินั้นเมื่อเกิดขึ้น ย่อมบั่นรอนและตัดเจตนาแห่งผู้ทุศีล 44,0003,007,กล่าวคือ ความกลัวและความขลาดเป็นต้น เหตุนั้น จึงชื่อว่าทาน. 44,0003,008,ไทยธรรมชื่อว่าทาน เพราะอรรถว่า อันเขาให้ ดังนี้แล้ว จึงกล่าวว่า 44,0003,009,""" ทานนี้ถึงมี ๓ อย่างดังกล่าวมา โดยความก็มี ๒ อย่าง คือ ธรรม" 44,0003,010,"อันเป็นไปทางใจ ๑ ไทยธรรม ๑"" ดังนี้." 44,0003,011,บรรดาทาน ๒ อย่างนั่น ความที่ทานเป็นมงคล ในทานอัน 44,0003,012,เป็นไปทางใจ จึงจะชอบ ในทานที่ไม่เป็นไปทางใจ ไม่ชอบ เพราะ 44,0003,013,ฉะนั้น ทานคือไทยธรรม อันไม่เป็นไปทางใจ จึงไม่ได้ในมงคลข้อ 44,0003,014,ว่าทานนี้. วิรัติแม้นั้นก็ไม่ได้ในมงคลข้อนี้ เพราะวิรัติแม้ในทานอัน 44,0003,015,เป็นไปทางใจ พระผู้มีพระภาคทรงถือเอาด้วยการเว้นจากบาปและ 44,0003,016,ความสำรวมจากการดื่มน้ำเมาข้างหน้า เพราะฉะนั้น พึงเห็นสันนิษฐาน 44,0003,017,โดยปาริเสสนัยว่า จาคเจตนา ชื่อว่าทาน. ก็คำว่า เจตนา ท่าน 44,0003,018,กล่าวไว้ด้วยอำนาจคำเป็นประธาน. แม้ความไม่โลภที่ประกอบด้วย 44,0003,019,จาคเจตนานั้น ก็ชื่อง่าทาน เพราะมีจาคเจตนานั้นเป็นคติ. 44,0003,020, 44,0003,021,๑. ป. ที. ๒๕๔. ๒. นัยที่แสดงอรรถยังเหลือ คือ คำบางคำ เช่น ทาน มีความหายหลาย 44,0003,022,อย่าง แต่ในบางแห่งแสดงจำกัดความหมายเพียงเดียว ฯลฯ ความหมายอื่นที่มิได้มุ่งไว้ 44,0003,023,ไม่กล่าวถึง นี้ชื่อว่าแสดงโดยปาริเสสนัย.