Book,Page,LineNumber,Text
41,0018,001,บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สเมสุ ได้แก่ ในบาทคู่ทั้งหลาย
41,0018,002,กล่าวคือบาทบทที่ ๒ และบาทที่ ๔.
41,0018,003,บทว่า สินฺธุโต คือถัดแต่ ๔ อักษรขึ้นไป. คำว่า แต่ ๔ อักษร
41,0018,004,"ขึ้นไปนั่น เป็นเพียงตัวอย่าง เพราะในบาทแห่งคาถาว่า ""มงฺคลานิ"
41,0018,005,"อจินฺตยุํ"" นี้ แสดง ช คณะแม้แต่ตัวอักษรตัวต้น."
41,0018,006,บทว่า เชน แปลว่า ด้วย ช คณะ.
41,0018,007,บทว่า ปกิตฺติตํ คือ กล่าวแล้ว.
41,0018,008,คาถานั้น ชื่อปัฐยา เพราะเป็นวาจาที่จะต้องกล่าว และชื่อว่า
41,0018,009,วัตร เพราะจะต้องร่ายโดยจตุราวัตร* เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า
41,0018,010,ปัฐยาวัตร. ส่วนในบาทขอนกล่าวคือบาทที่ ๑ และบาทที่ ๓ ส คณะ
41,0018,011,และ น คณะ ถัดอักษรตัวต้นขึ้นไป ย่อมไม่มี (คือใช้ไม่ได้). คณะ
41,0018,012,เหล่าอื่น ท่านไม่ห้าม.
41,0018,013,พรรณนาความแห่งคาถาทูลถาม จบ
41,0018,014,
41,0018,015,"* ปริวตฺตพฺพโต แปลว่า ร่าย อย่างร่ายมนต์ , โบราณแปลโดยพยัญชนะ เหตุอาจารย์พึงกล่าว"
41,0018,016,รอบคอบ. จตุราวตฺเตน แปลว่า โดยเวียนมาแต่หน้า ๔ อักษร ; หมายความว่า เวียนมาแห่ง ย คณะ
41,0018,017,"แต่หน้า ๔ อักษร ในบาท ๑. ๓; และเวียนมาแห่ง ช คณะ แต่หน้า ๔ อักษรในบาท ๒, ๔."
41,0018,018,คำว่า ๔ อักษร ได้แก่อักษรต้น ๔ อักษรของทุก ๆ บท ที่เรียกว่าสินธุบ้าง อรรณพบ้าง ดังได้
41,0018,019,กล่าวไว้แล้ว. จตุราวัตรนี้ จะลงคณะใดก็ได้ ไม่ห้าม แต่ในบาทที่ ๑-๓ ท่านห้ามไม่ให้ลง ส
41,0018,020,คณะ และ ฯ คณะ. ส คณะ เช่น สุคโต-(โส) น คณะ เช่น สุมุนิ (โน)