Book,Page,LineNumber,Text
41,0016,001,บทว่า พหูคือมิใช่ผู้เดียว.
41,0016,002,เทวดาโดยอุปบัติ มีเทวดาชั้นจาตุมหาราชเป็นต้น ชื่อว่าเทวดา.
41,0016,003,ชนชาวชมพูทวีป ชื่อว่า มนุษย์.
41,0016,004,บทว่า มงฺคลามิความว่า ซึ่งเหตุถึงความเจริญด้วยสมบัติทุก
41,0016,005,ประเภท ด้วยเหตุนั้น ในอรรถกถา๑ท่านจึงกล่าวว่า สัตว์ทั้งหลาย
41,0016,006,ย่อมถึง อธิบายว่า ย่อมบรรลุซึ่งความสำเร็จ และความเจริญด้วยเหตุ
41,0016,007,"เหล่านี้ เหตุนั้น เหตุเหล่านี้ จึงชื่อว่า มงคล."" แม้ในสัททนีติปกรณ์๒"
41,0016,008,"ท่านก็กล่าวอรรถแห่งธาตุว่า ""ในบทว่า มงฺคลํ นี้ มคิ ธาตุ เป็นไป"
41,0016,009,"ในความถึง."" แล้วกล่าวบทกิริยาว่า ""มงฺคติ"" (ย่อมถึง); ก็ มคิ"
41,0016,010,"ธาตุ เป็นอิการันต์, เพราะเหตุนั้น ในนิปผันรูป๓ จึงลงนิคคหิตอาคม."
41,0016,011,บท อจินฺตยุํ แปลว่า คิดกันแล้ว.
41,0016,012,บทว่า อากงฺขมานา ได้แก่ จำนงอยู่ คือปรารถนาอยู่
41,0016,013,บท โสตฺถานํ แปลว่า ซึ่งสวัสดิภาพ. ความว่า ซึ่งความ
41,0016,014,ที่ธรรมอันเป็นไปในภพนี้และในภพหน้าอันงามทุกอย่างมีอยู่.
41,0016,015,[๑๓] บทว่า พฺรูหิ แปลว่า โปรดตรัส คือโปรดแสดง.
41,0016,016,บทว่า อุตฺตมํ ความว่า วิเศษ คือ ประเสริฐ ได้แก่ นำมาซึ่ง
41,0016,017,ประโยชน์สุขแก่โลกทั้งหมด.
41,0016,018,"ก็ในคาถาทูลถามนี้ บัณฑิตพึงเห็นสันนิษฐานว่า ""ความ"
41,0016,019,ต่างกันแห่งวจนะ เทพดากระทำด้วยสามารถเพ่งประเภทว่า มงฺคลานิ๔
41,0016,020,
41,0016,021,๑. ปรมัตถโชติกา ขุททกปาฐวัณณนา ๑๓๕. ๒. นี้เป็นชื่อคัมภีร์ไวยากรณ์ ในจำพวกสัททา-
41,0016,022,วิเสส แยกเป็นมหาสัททนีติคัมภีร์หนึ่ง จุลกสัททนีติคัมภีร์หนึ่ง ท่านอัครวงศาจารยบัณฑิตเป็นผู้แต่ง
41,0016,023,๓. รูปสำเร็จ ๔. มงฺคลานิ เป็นพหุ. เพราะเพ่งประเภท คือกล่าวแยกเป็นอย่าง ๆ ไป.