Book,Page,LineNumber,Text 10,0030,001,นั้นจะบ่งให้ขึ้นตัวประธานเช่นไร. 10,0030,002,วิธีสังเกตบุรุษ 10,0030,003,การที่จะรู้ได้ว่า กิริยาศัพท์ใด เป็นบุรุษอะไรนั้น ต้องอาศัย 10,0030,004,สังเกตวิภัตติ เพราะทุกวิภัตติท่านจัดบุรุษประจำไว้แล้ว เช่นกิริยา- 10,0030,005,"ศัพท์ประกอบด้วย ติ, อนฺติ ก็เป็นปฐมบุรุษ ตัวประธานก็ใช้ปฐมบุรุษ," 10,0030,006,"ประกอบด้วย สิ, ถ ก็เป็นมัธยมบุรุษ ตัวประธานก็ใช้มัธยมบุรุษ คือ" 10,0030,007,"ตฺวํ, ตุมฺเห, ประกอบด้วย มิ, ม ก็เป็นอุตตมบุรุษ ตัวประธานก็ใช้" 10,0030,008,"อุตตมบุรุษ คือ อหํ, มยํ. นี้เฉพาะฝ่ายปรัสสบท ถึงฝ่ายอัตตโนบท" 10,0030,009,ก็เช่นเดียวกัน และแม้ในวิภัตติอื่นก็พึงสังเกตโดยนัยนี้. 10,0030,010,วิธีใช้บุรุษและวจนะแสดงความเคารพ 10,0030,011,ในการพูดหรือการเขียนที่แสดงความเคารพต่อผู้ที่สูงกว่าตน ซึ่ง 10,0030,012,เป็นผู้พูดด้วย คือผู้น้อยพูดกับผู้ใหญ่ ตามปกติมักนิยมใช้มัธยมบุรุษ 10,0030,013,พหุวจนะ ถึงแม้ว่าผู้พูดด้วยจะเป็นคนเดียวก็ตาม เช่น ภิกษุทูลพระราชา 10,0030,014,ดัง อุ. ว่า ตํ ตุมฺหากํ วิชิตา นีหรถ ขอพระองค์ทั้งหลายจงนำ 10,0030,015,เขาออกจากแว่นแคว้นของพระองค์ทั้งหลาย. หรือพระราชาตรัสกะ 10,0030,016,ภิกษุ ดัง อุ. ว่า กเถถ ภนฺเต ขอท่านทั้งหลายจงบอกเถิด ขอรับ 10,0030,017,เช่นนี้เป็นต้น ถึงแม้ผู้พูดด้วยจะเป็นคนเดียว ก็ยังนิยมใช้คำแทนชื่อ 10,0030,018,ของผู้พูดเป็น พหุวจนะ เพราะเขาถือกันว่าเป็นคำแสดงความเคารพ 10,0030,019,ส่วนวจนะของบุรุษ คือปฐมบุรุษ และอุตตมบุรุษ ไม่มีที่นิยมใช้ 10,0030,020,คนเดียวก็คงเป็นเอก. ๒ คนขึ้นไปก็คงเป็นพหุ. ตามเดิม.