Book,Page,LineNumber,Text 10,0023,001,วิชฺชติ คนเช่นกับด้วยเรา (อันใคร ๆ ) ย่อมหาไม่ได้ เป็นต้น แต่ 10,0023,002,การที่จะกำหนดบทให้แน่นอนลงไปอีกชั้นหนึ่ง ว่าบอกวาจกอะไรแน่ 10,0023,003,ต้องอาศัยสังเกตปัจจัยอีกตอนหนึ่ง ดังจะอธิบายข้างหน้า. 10,0023,004,๔. วจนะ 10,0023,005,"คำว่า วจนะ แปลว่า ""คำพูด"" หมายความว่า คำเครื่อง" 10,0023,006,แสดงให้ทราบถึงจำนวนมากหรือน้อย วจนะ นี้มีกล่าวไว้ ๒ แห่ง คือ 10,0023,007,วจนะนาม ๑ วจนะอาขยาต ๑. วจนะนาม ใช้สำหรับประกอบนาม 10,0023,008,เป็นเครื่องแสดจำนวนของนามให้รู้ว่ามากหรือน้อย คนเดียวหรือ 10,0023,009,หลายคน ส่วนวจนะอาขยาต ใช้สำหรับประกอบกิริยาเป็นเครื่องแสดง 10,0023,010,ให้ทราบว่า กิริยาเช่นนี้ เป็นกิริยาของประธาน มีจำนวนมากหรือน้อย 10,0023,011,คนเดียวหรือหลายคน ท่านจัดได้ ๒ วจนะเช่นเดียวกันทั้งในนามและ 10,0023,012,อาขยาต คือ เอกวจนะ คำพูดถึงสิ่งเดียว ๑ พหุวจนะ คำพูดถึง 10,0023,013,หลายสิ่ง ๑ วจนะของกิริยาศัพท์กับนามศัพท์ที่เป็นตัวประธานต้องเป็น 10,0023,014,อย่างเดียวกัน คือ เป็นเอกวจนะหรือพหุวจนะก็ต้องเป็นด้วยกัน เช่น 10,0023,015,อุ. ภิกฺขุ ธมฺมํ เทเสติ ภิกษุแสดงอยู่ ซึ่งธรรม. สตฺตา มรณสฺส 10,0023,016,ภายนฺติ สัตว์ทั้งหลายย่อมกลัวต่อความตาย. ในที่นี้ ภิกฺขุ เป็น 10,0023,017,เอกวจนะ จึงต้องใช้ ติ วิภัตติซึ่งเป็นเอกวจนะตาม สตฺตา เป็น 10,0023,018,พหุวจนะ จึงต้องใช้ อนฺติ วิภัตติซึ่งเป็น พหุวจนะ ตาม ถึงวิภัตติ 10,0023,019,อื่นก็ต้องให้ วจนะ ตรงกันโดยนัยนี้. 10,0023,020,ในภาษาบาลี ประโยคทั้งหลาย โดยมากมักตัดตัวประธานออก 10,0023,021,เสีย โดยถือเสียว่ามีกิริยาเป็นเครื่องบ่งอยู่แล้ว ฉะนั้น การที่จะแปล