Book,Page,LineNumber,Text 09,0030,001,ยสฺส โส=หตฺถจฺฉินฺโน ปุริโส มือ ท. ของบุรุษใดขาดแล้ว บุรุษ 09,0030,002,นั้นชื่อว่ามีมือขาดแล้ว. 09,0030,003,อนึ่ง ในฉัฏฐีพหุพพิหินี้ ในรูปวิเคราะห์ประกอบด้วยอุปมาก็มี 09,0030,004,เรียก ฉัฏฐีอุปมาพหุพพิหิ วิธีตั้งวิเคราะห์ต้องประกอบเจ้าของแห่ง 09,0030,005,สิ่งที่นำมาอุปมาเป็นฉัฏฐีวิภัตติ ตัวอุปมาเป็นปฐมาวิภัตติ มี อิว 09,0030,006,ศัพท์ต่อท้าย ตัวประธานในรูปวิเคราะห์อยู่ข้างหลัง เมื่อสมาสกันเข้า 09,0030,007,แล้ว ตัวอุปมาและ อิว ศัพท์ลบทิ้งเสีย คงไว้แต่ตัวเจ้าของแห่งสิ่งนั้น 09,0030,008,ดังนี้ สุวณฺณสฺส วณฺโณ อิว วณฺโณ ยสฺส โส=สุวณฺณวณฺโณ 09,0030,009,ภควา วรรณะของพระผู้มีพระภาคใด เพียงดังวรรณะแห่งทอง. สุวณฺณสฺส 09,0030,010,เป็นเจ้าของ วณฺโณ ตัวอุปมาที่มี อิว อยู่ข้างหลัง วณฺโณ ตัวอุปมา 09,0030,011,และอิวท่านลบเสีย คงได้แต่ สุวณฺณ ซึ่งเป็นเจ้าของตัวอุปมาเท่านั้น 09,0030,012,จึงเป็น สุวณฺณวณฺโณ รูปศัพท์เช่นนี้ ถ้าประธานในบทสมาสเอง 09,0030,013,ไม่ใช่คุณบทของศัพท์อื่น ก็ต้องเป็นฉัฏฐีตัปปุริสะ แม้อุทาหรณ์ 09,0030,014,อื่น เมื่อนักศึกษาเห็นศัพท์มีรูปเช่นนี้ และเป็นคุณของบทอื่นแล้ว 09,0030,015,ก็เป็นฉัฏฐีอุปมาพหุพพิหิ เช่น อุ. ว่า พฺพหฺมุโน สโร อิว สโร ยสฺส 09,0030,016,โส=พฺรหฺมสโร ภควา เสียงของพระผู้มีพระภาคใด เพียงดังเสียง 09,0030,017,แห่งพรหม พระผู้มีพระภาคนั้น ชื่อว่ามีเสียงเพียงดังเสียงแห่งพรหม. 09,0030,018,สูกรสฺส สีสํ อิว สีสํ ยสฺส โส=สูกรสีโส เปโต ศีรษะของเปรตใด 09,0030,019,เพียงดังศีรษะแห่งสุกร เปรตนั้นชื่อว่ามีศีรษะเพียงดังศีรษะแห่งสุกร. 09,0030,020,ถ้าเข้าเป็นวิเสสนบุพพบทอีก ลบ สีสี เสีย คงไว้แต่ สูกรเปโต ก็ได้.