Book,Page,LineNumber,Text 09,0016,001,หลังนามนาม และมีสังขยานั้นเป็นประธาน การต่อสังขยานามนี้ ต่อ 09,0016,002,ด้วยวิธี ตัปปุริสสมาส ดังจะอธิบายต่อไป. 09,0016,003,๓. ตัปปุริสสมาส 09,0016,004,สมาสนี้ ท่านย่อนาศัพท์ที่มีทุติยาวิภัตติเป็นต้น จนถึงสัตตมี- 09,0016,005,วิภัตติเป็นที่สุด เข้ากับเบื้องปลาย ซึ่งเป็นนามนามบ้าง คุณนามบ้า 09,0016,006,ให้เนื่องเป็นอันเดียวกัน ชื่อตัปปุริสสมาส มี ๖ อย่าง คือ ทุติยา- 09,0016,007,ตัปปุริสะ ๑ ตติยาตัปปุริสะ ๑ จตุตถีตัปปุริสะ ๑ ปัญจมีตัปปุริสะ ๑ 09,0016,008,ฉัฏฐีตัปปุริสะ ๑ สัตตมีตัปปุริสะ ๑. การที่ไม่มีปฐมาตัปปุริสะ ก็ 09,0016,009,เพราะ ถ้าทั้ง ๒ บทเป็นปบมาวิภัตติด้วยกัน ไม่มีอายนิบาตให้เนื่อง 09,0016,010,ถึงกัน ก็ต้องเป็นอย่างสมาสอื่น เช่น กัมมธารยะ หรือ ทวันทวะ 09,0016,011,เป็นต้น ฉะนั้นปฐมาตัปปุริสะจึงไม่มี. ก็ตัปปุริสะนี้ จะสังเกตให้เข้า 09,0016,012,ใจว่าเป็นตัปปุริสะอะไร ในเมื่อเราเห็นศัพท์สมาสกันอยู่ ซึ่งบอก 09,0016,013,ลักษณะว่าเป็นตัปปุริสะ ไม่ใช่ลักษณะแห่งสมาสอื่นแล้ว พึงแปลบท 09,0016,014,"หลังให้เนื่องกับอายตนิบาตของบทหน้า ตั้งแต่ ซึ่ง, สู่, ยัง, สิ้น," 09,0016,015,"จนถึง ใน, ใกล้, ที่, ครั้นเมื่อ, ในเพราะ, เมื่อเห็นเชื่อมกันได้ด้วย" 09,0016,016,อายตนิบาตตัวไหน ในวิภัตติอะไรแล้ว พึงทราบเถิดว่าเป็นตัปปุริสะนั้น. 09,0016,017,อนึ่ง เมื่อ ๒ บทบอกลักษณะตัปปุริสะอยู่ แต่แปลอายตนิบาต 09,0016,018,ความไม่กินกัน เช่น อุ. อสฺสรโถ จะแปลเป็น สมาหารทวันทวะ ก็ 09,0016,019,ผิดลักษณะ เพราะไม่เป็นเอกวจนะนปุํสกลังค์ จะเป็น อสมาหาร- 09,0016,020,ทวันทวะก็ไม่ได้ เพราะเป็นเอกวจนะ ฉะนั้น ควรให้เป็นตัปปุริสะ 09,0016,021,แล้วไล่เลียงอายตนิบาตของศัพท์หน้า อสฺส ให้ต่อกับศัพท์หลัง รโถ