Book,Page,LineNumber,Text 09,0014,001,ส่วนกัมมธารยะอื่นอีก ๕ อย่าง ก็ดำเนินตามแบบนี้ เป็นแต่ประกอบ 09,0014,002,วิเสสนะไว้หน้าไว้หลังเท่านั้น ส่วน ต ศัพท์เรียงไว้หน้าบทหลัง ใช้ 09,0014,003,ลิงค์เหมือนกับตัวประธาน เช่นอวธารณะว่า สทฺธา เอว จ ตํ 09,0014,004,ธนญฺจาติ=สทฺธาธนํ ทรัพย์นั้นด้วย คือศรัทธาด้วย เหตุนั้นชื่อว่า 09,0014,005,ทรัพย์คือศรัทธา แต่เพื่อไม่ให้การแปลวิเคราะห์ ยืดยาว ควรใช้ตาม 09,0014,006,แบบบาลีไวยากรณ์ ซึ่งเป็นแบบสะดวกในการตั้งวิเคราะห์และแปล 09,0014,007,วิเคราะห์เป็นอย่างดี เพราะบทปลงของวิเคราะห์แปลความเท่ากัน 09,0014,008,จะตั้งวิเคราะห์แบบในคัมภีร์ศัพทศาสตร์หรือแบบบาลีไวยากรณ์ ก็แปล 09,0014,009,เหมือนกัน. 09,0014,010,๒. ทิคุสมาส 09,0014,011,แท้จริง สมาสนี้ ก็คือกัมมธารยะ อย่างวิเสสบุพพบทนั้นเอง 09,0014,012,แต่ที่ท่านให้เรียกต่างกันออกไปว่า ทิคุ นั้น เพราะนิยมบทหน้าเฉพาะ 09,0014,013,แต่ปกติสังขยาอย่างเดียว และสังขยานั้นก็ใช้แต่สังขยาคุณเท่านั้น คือ 09,0014,014,ตั้งแต่เอก ถึง อฏฺ€นวุติ ถ้าจะสมาสกับสังขยานาม ต้องเป็นตัปปุริสะ 09,0014,015,กับปรูณสังขยสเป็นกัมมธารยะ ทิคุสมาสนี้มีวิธีอยู่ ๒ อย่าง คือ :- 09,0014,016,ก. สมาหารทิคุ ได้แก่ทิคุที่ท่านรวมความของศัพท์ที่มีเนื้อความ 09,0014,017,เป็นพหุวจนะให้เป็นเอกวจนะนปุํสกลิงค์ คือใช้สังขยาตั้งแต่ ทฺวิ ถึง 09,0014,018,อฏฺ€นวติ เป็นบทหน้าของบทนามนาม เมื่อสำเร็จรูปคงเป็นเอกวจนะ 09,0014,019,นปุํสกลิงค์อย่างเดียว. 09,0014,020,ข. อสมาหารทิคุ ได้แก่ทิคุที่ท่านไม่ทำอย่างนั้น คือคงไว้ตาม 09,0014,021,เดิม นามศัพท์จะมีวจนะอย่างใด มีลิงค์อย่างใด ก็คงไว้อย่างนั้น