Book,Page,LineNumber,Text 02,0029,001,วจีวิภาค ภาคที่ ๒ 02,0029,002,นาม 02,0029,003,[๓๗] นามศัพท์นั้นแบ่งเป็น ๓ คือ นามนาม ๑ คุณนาม ๑ 02,0029,004,สัพพนาม ๑. 02,0029,005,"นามที่เป็นชื่อของคน, สัตว์, ที่, สิ่งของ, เป็นนามนาม. นามนามนี้" 02,0029,006,แบ่งออกเป็น ๒ คือ สาธารณนาม ๑ อสาธารณนาม ๑. นามที่ทั่วไป 02,0029,007,"แก่คน, สัตว์, ที่, อื่นได้ เหมือนคำว่า มนุสฺโส มนุษย์ ติรจฺฉาโน" 02,0029,008,สัตว์ดิรัจฉาน นครํ เมือง เป็นต้น เป็นสาธารณนาม. นามที่ไม่ทั่วไป 02,0029,009,แก่สิ่งอื่น เหมือนคำว่า ทีฆาวุ กุมารชื่อทีฆาวุ เอราวโณ ช้างชื่อ 02,0029,010,เอราวัณ สาวตฺถี เมืองชื่อสาวัตถีเป็นต้น เป็นอาสาธารณนาม. 02,0029,011,นามที่แสดงลักษณะของนามนาม สำหรับหมายให้รู้ว่า นามนาม 02,0029,012,นั้น ดีหรือชั่วเป็นต้น เป็นคุณนาม เหมือนคำว่า ปญฺวา มี 02,0029,013,ปัญญา ปุริโส บุรุษ ถือเอาความตามภาษาของเราว่า บุรุษมีปัญญา 02,0029,014,ปุริโส เป็นนามนาม ปญฺวา เป็นคุณนาม. คุณนามนี้แบ่งเป็น ๓ 02,0029,015,ชั้น คือ ปกติ ๑ วิเสส ๑ อติวิเสส ๑. คุณนามที่แสดงความดีหรือ 02,0029,016,ชั่ว เป็นปกติ เหมือนคำว่า ปณฺฑิโต เป็นบัณฑิต ปาโป เป็นบาป 02,0029,017,ชื่อปกติ. คุณนามที่แสดงความดีหรือชั่ว มากหรือน้อยกว่าปกติ 02,0029,018,เหมือนคำว่า ปณฺฑิตตโร เป็นบัณฑิตกว่า ปาปตโร เป็นบาปกว่า 02,0029,019,ชื่อวิเสส. คุณนามที่แสดงความดีหรือชั่วมากที่สุดหรือน้อยที่สุด เหมือน