Book,Page,LineNumber,Text
34,0045,001,"ภิกษุนั้นว่า ""หญิงนั้น ปลงบัณฑิตผู้เลิศ ในชมพูทวีปทั้งสิ้น จาก "
34,0045,002,ชีวิต เพราะความสิเนหาในชายคนหนึ่ง ซึ่งตนเห็นครู่เดียวนั้นอย่างนี้;
34,0045,003,"ภิกษุ เธอจงตัดตัณหาของเธอ อันปรารภหญิงนั้นเกิดขึ้นเสีย"" ดังนี้"
34,0045,004,แล้ว เมื่อจะทรงแสดงธรรมให้ยิ่งขึ้นไป จึงได้ทรงภาษิตพระคาถา
34,0045,005,เหล่านี้ว่า :-
34,0045,006,"""ตัณหา ย่อมเจริญยิ่งแก่ชนผู้ถูกวิตกย่ำยี มี"
34,0045,007,"ราคะจัด เห็นอารมณ์ว่างาม, บุคคลนั่นแล"
34,0045,008,ย่อมทำเครื่องผูกให้มั่น. ส่วนภิกษุใด ยินดีใน
34,0045,009,ธรรมเป็นที่เข้าไประงับวิตก เจริญอสุภฌานอยู่
34,0045,010,"มีสติทุกเมื่อ, ภิกษุนั่นแล จักทำตัณหาให้สูบ"
34,0045,011,"สิ้นได้ ภิกษุนั่น จะตัดเครื่องผูกแห่งมารได้."""
34,0045,012,[แก้อรรถ]
34,0045,013,บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วิตกฺกมถิตสฺส ได้แก่ ผู้ถูกวิตก ๓
34,0045,014,มีกามวิตกเป็นต้นย่ำยี.
34,0045,015,บทว่า ติพฺพราคสฺส คือ ผู้มีราคะหนาแน่น.
34,0045,016,บทว่า สุภานุปสฺสิโน ความว่า ชื่อว่า ผู้ตามเห็นอารมณ์ว่า
34,0045,017,"""งาม"" เพราะความเป็นผู้มีใจอันตนปล่อยไปในอารมณ์อันน่าปรารถนา"
34,0045,018,ทั้งหลาย ด้วยสามารถแห่งการยึดถือมีการยึดถือโดยสุภนิมิตเป็นต้น.
34,0045,019,บทว่า ตณฺหา เป็นต้น ความว่า บรรดาฌานเป็นต้น แม้ฌาน
34,0045,020,"หนึ่ง ย่อมได้เจริญแก่บุคคลผู้เห็นปานนั้น, โดยที่แท้ ตัณหาเกิด"
34,0045,021,ทางทวาร ๖ ย่อมเจริญยิ่ง.