Book,Page,LineNumber,Text
12,0030,001,[ ๒ ] บทที่มีขีดสัญประกาศอยู่ภายใต้ ในข้อนี้และในข้ออื่น
12,0030,002,พึงทราบว่าเป็นนามนามที่ประกอบด้วยวิภัตติ ใช้ในอรรถที่กำลัง
12,0030,003,กล่าวอยู่ ๑ บทเป็นที่เข้าด้วย ๑ เช่น ธมฺมํ สุณาติ พึงทราบว่า
12,0030,004,ธมฺมํ อวุตตกัมม ใน สุณาติ ธมฺมํ ปสฺสติ ธมฺมํ อวุตตกัมม
12,0030,005,ใน ปสฺสติ พึงทราบอย่างนี้ในที่ทุกแห่ง.
12,0030,006,[ ๓ ] กิริยาในคำว่า 'เข้ากับกิริยา' ในที่ทุกแห่ง ได้แก่กิริยา
12,0030,007,อาขยาต กิริยากิตก์ทั้งที่ใช้เป็นกิริยา ทั้งที่ใช้เป็นวิเสสนะ และนาม
12,0030,008,กิตก์ก็นับว่ากิริยา. กิริยาในคำว่า 'เข้ากับกิริยา' แม้ในวิภัตติอื่น
12,0030,009,ก็พึงทราบโดยนัยนี้.
12,0030,010,นามกิตก์แบ่งเป็น ๒ คือ กิริยานามนาม ได้แก่ภาวสาธนะ ๑
12,0030,011,กิริยาคุณนาม ได้แก่สาธนะนอกนั้น ๑. อีกนัยหนึ่ง แบ่งเป็น ๒ คือ
12,0030,012,นามนาม ๑ คุณนาม ๑ กิริยานามนามและกิริยาคุณนาม ที่ใช้เป็น
12,0030,013,นามนาม เช่น ทายก ปฏิคาหก จัดเข้าในนามกิตก์เป็นนามนาม
12,0030,014,กิริยาคุณนามที่ใช้เป็นคุณบท จัดเข้าใจนามกิตก์เป็นคุณนาม. นาม-
12,0030,015,กิตก์นี้ นับเข้าพวกนามก็ได้ เพราะจัดเป็นนามนามและคุณนามได้ นับ
12,0030,016,เข้าพวกกิริยาก็ได้ เพราะสำเร็จจากกิริยา ซึ่งยังเรียกว่ากิริยานาม
12,0030,017,กิริยาคุณอยู่ เหตุฉะนั้น จึงเปรียบเทียบนกมีหูหนูมีปีก [ ค้าวคาว.]
12,0030,018,สัมปาปุณิยกัมม
12,0030,019,๒. เป็นที่ไปถึง [ สู่ ] เรียกชื่อว่า สมฺปาปุณิยกมฺมํ อุ. นครํ
12,0030,020,ปวิสติ.
12,0030,021,อธิบาย : [ ๑ ] สัมปาปุณิยกัมม คือกรรมในฐานเป็นที่ไปถึง