Book,Page,LineNumber,Text 10,0026,001,เป็น อตฺถิ ส่วน นตฺถิ นั้น ต่างกันแต่เพียงเพิ่ม น ศัพท์เข้ามาเพื่อ 10,0026,002,เป็นคำปฏิเสธเท่านั้น ๒ กิริยาศัพท์นี้ ใช้ได้สำหรับตัวประธาน ทั้งที่ 10,0026,003,เป็น เอกวจนะ และ พหุวจนะ. ที่ใช้เป็น พหุวจนะ เช่น อุ. ว่า เย 10,0026,004,สตฺตา สญฺิโน อตฺถิ สัตว์ทั้งหลายเหล่าใด เป็นผู้มีสัญญามีอยู่ 10,0026,005,ปุตฺตามตฺถิ (ตัดบทเป็น ปุตฺตา=เม=อตฺถิ) บุตรทั้งหลาย ของเรา 10,0026,006,มีอยู่. สงฺขารา สสฺสตา นตฺถิ สังขารทั้งหลาย เป็นสภาพเที่ยง 10,0026,007,ย่อมไม่มี. 10,0026,008,๕. บุรุษ 10,0026,009,วิภัตติท่านจัดบุรุษไว้เป็น ๓ คือ ปฐมบุรุษ ๑ มัธยมบุรุษ ๑ 10,0026,010,อุตตมบุรุษ ๑ ซึ่งเหมือนกับบุรุษในนาม คือ ปุริสสัพพนาม ต่างกัน 10,0026,011,แต่เพียงวิธีใช้เท่านั้น คือบุรุษในนาม ใช้เป็นคำแทนชื่อของคน สัตว์ 10,0026,012,ที่ สิ่งของ อันออกชื่อมาแล้วข้างต้น เพื่อกันการซ้ำซาก ซึ่งมิได้ 10,0026,013,จำกัดวิภัตติ คือจะเป็นวิภัตติใดวิภัตติหนึ่งก็ได้ ในวิภัตตินามทั้ง ๗ 10,0026,014,ส่วนบุรุษในอาขยาต จำกัดให้ใช้ได้เฉพาะแต่ที่เป็นตัวประธานของ 10,0026,015,กิริยา คือเป็น ปฐมาวิภัตติ เท่านั้น วิภัตติอื่นหาใช้ได้ไม่ นอกจาก 10,0026,016,กิริยาบางตัวซึ่งเป็นพวกภาวนาวาจก ไม่มีตัวประธาน มีแต่ตัวกัตตา ซึ่ง 10,0026,017,ใช้เป็น ตติยาวิภัตติ เท่านั้น เช่น เตน ภูยเต อันเขาเป็นอยู่. นอก 10,0026,018,จากนี้ บุรุษสำหรับกิริยาศัพท์ เฉพาะปฐมบุรุษไม่จำกัด ให้ใช้ได้ 10,0026,019,เฉพาะแต่ ต ศัพท์ ซึ่งเป็นปฐมบุรุษในปุริสัพพนามเท่านั้น แม้ 10,0026,020,ตัวนามนามอย่าอื่น ก็ใช้เป็นตัวประธานของกิริยาศัพท์ที่ประกอบ