Book,Page,LineNumber,Text
10,0019,001,วิภัตติทั้ง๓ นี้ คือ ปโรกขา หิยัตตนี และ อัชชัตตนี กิริยาศัพท์
10,0019,002,นั้น ย่อมบอก อดีตกาล.
10,0019,003,กิริยาศัพท์ใด ประกอบด้วยวิภัตติตัวใดตัวหนึ่ง ในหมวด
10,0019,004,วิภัตติทั้ง ๒ นี้ คือ ภวิสสันติ และกาลาติปัตติ กิริยาศัพท์นั้น ย่อม
10,0019,005,บอก อนาคตกาล.
10,0019,006,หนึ่ง ถ้าจะสังเกตให้รู้ละเอียดตลอดไปถึงกาลทั้ง ๘ อันเป็นส่วน
10,0019,007,พิสดาร ซึ่งแยกขยายออกมาจากกาลทั้ง ๓ นอกจากสังเกตวิภัตติแล้ว
10,0019,008,ยังต้องอาศัยสังเกตคำแปลดังทีท่านจัดไว้ประจำเฉพาะกาลนั้น ๆ อีกต่อ
10,0019,009,หนึ่ง ดังที่ได้อธิบายมาแล้วแต่ต้น ตอนที่กล่าวถึงความหมายของ
10,0019,010,กาลทั้ง ๘.
10,0019,011,กาลของปัญจมี และสัตตมี
10,0019,012,วิภัตติทั้ง ๒ นี้ ไม่บ่งว่าบอกกาลอะไรลงไปแน่นอน และท่าน
10,0019,013,ก็มิได้จัดลงในกาลแผนกไหน แต่ตามมติของอาจารย์ผู้รู้บาลีทั้งหลาย
10,0019,014,เห็นควรสงเคราะห์วิภัตติทั้ง ๒ นี้ลงใน ปัจจุบันกาลใกล้อนาคต
10,0019,015,โดยอาศัยสังเกตคำแปลเป็นหลัก เพราะคำแปลของ ๒ วิภัตตินี้บ่งมุ่ง
10,0019,016,ไปในอนาคตกาล ยังไม่ลงมือทำลงไปทีเดียว แต่ก็จวนจะทำอยู่แล้ว
10,0019,017,ซึ่งหวังได้ว่าจะต้องทำต่อไปในกาลข้างหน้า ในวิภัตติทั้ง ๒ นี้ ปัญจมี
10,0019,018,บอกความ ๓ อย่าง คือ ความบังคับ ได้แก่การสั่ง การบัญชา
10,0019,019,หรือบงการให้ทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งโดยเด็ดขาด จะทำอย่างอื่นไม่ได้ ท่าน
10,0019,020,"บัญญัติให้แปลว่า ""จง"" อุ. ว่า ธนุํ อาหร สเร อาหร เจ้าจง"
10,0019,021,นำมาซึ่งธนู เจ้าจงนำมาซึ่งลูกศร ท.