Book,Page,LineNumber,Text 10,0003,001,ส่วนกิริยา และยังใช้เป็นเครื่องคุมพากย์ คือคำพูดที่กล่าวออกไปเพื่อ 10,0003,002,ให้ทราบได้ว่า จบประโยคแห่งคำพูดท่อนหนึ่ง ๆ กำกับความท่อน 10,0003,003,ต่าง ๆ ไม่ให้คละกัน ถึงแม้ว่าจะมีกิริยาอีกแผนกหนึ่งซึ่งเรียกว่า 10,0003,004,กิริยากิตก์ ก็ยังไม่สำคัญเท่ากิริยาอาขยาต เพราะกิริยากิตก์ไม่มีวิภัตติ 10,0003,005,แผนกหนึ่งเหมือนอาขยาต ยังต้องอาศัยวิภัตตินาม บทและบุรุษก็ 10,0003,006,ต้องอาศัยอาขยาตเป็นเครื่องบ่ง ทั้งจะให้เป็นกิริยาคุมพากย์ไม่ได้เสมอ 10,0003,007,ไป เพราะเหตุนี้ อาขยาตจึงเป็นปกรณ์ที่สำคัญอย่างยิ่งซึ่งจำเป็นที่สุด 10,0003,008,ที่ผู้ศึกษาจะต้องเรียนรู้และจะขาดเสียมิได้. 10,0003,009,หลักสังเกตกิริยาอาขยาต 10,0003,010,ลำพังเห็นกิริยาในภาษาไทย เช่นคำว่า ยืน เดิน นั่ง นอน 10,0003,011,เป็นต้น จะรู้ไม่ได้เลยว่าเป็นกิริยาแผนกไหน จะเรียกว่าเป็นกิริยา 10,0003,012,แผนกไหนก็ยังไม่ได้ทั้งนั้น เพราะคำเหล่านี้อาจจะประกอบเป็นภาษา 10,0003,013,มคธใช้ได้หลายแผนก แล้วแต่จะใช้เครื่องปรุงแผนกไหนเข้าประกอบ 10,0003,014,ดังนั้น การที่จะสังเกตกิริยาอาขยาตในภาษาไทยจึงเป็นการยากมาก และ 10,0003,015,อาจจะเจ้าใจอย่างแท้จริงไม่ได้เลย แต่ที่จะสังเกตทราบได้ ต้องเป็น 10,0003,016,ไปในภาษามคธ เพราะในภาษามคธ ท่านจัดเครื่องปรุงไว้สำหรับ 10,0003,017,แผนกนั้น ๆ อย่างพร้อมมูลแล้ว เช่น นามกิตก์ก็มีเครื่องปรุง คือ 10,0003,018,สาธนะ รูป และปัจจัย. กิริยากิตก์ก็มีวิภัตติ ซึ่งอาศัยนาม วจนะ 10,0003,019,กาล ธาตุ วาจก และปัจจัย เป็นต้น ถึงแม้ว่าจะเป็นกิริยาชนิดเดียว 10,0003,020,กัน แต่ก็ต่างกันด้วยเครื่องปรุง พึงสังเกตตัวอย่างดังต่อไปนี้ :-