Book,Page,LineNumber,Text
46,0025,001,กตฺตพฺพํ โหติ ความว่า การงานมีการจัดแจงจีวรเป็นต้น เป็นกิจ
46,0025,002,อันภิกษุควรทำ. ข้อว่า น วิริยํ อารภติ คือ ไม่ปรารภความเพียร
46,0025,003,ทั้ง ๒ อย่าง. บทว่า อปฺปตฺตสฺส ได้แก่ เพื่อถึงธรรม คือ ฌาน
46,0025,004,วิปัสสนามรรคและผล ที่ตนยังไม่ถึง. บทว่า อนธิคตสฺส คือ เพื่อ
46,0025,005,ประโยชน์บรรลุธรรมคือฌานวิปัสสนามรรคและผลนั้นนั่นแล อันตนยัง
46,0025,006,ไม่ได้บรรลุ. บทว่า อสจฺฉิกตสฺส คือ เพื่อต้องการทำให้แจ้งซึ่งธรรม
46,0025,007,นั่นแล อันตนยังไม่ได้ทำให้แจ้ง. สองบทว่า อิทํ ปมํ ความว่า
46,0025,008,"นี้คือความท้อแท้เพราะคิดอย่างนี้ว่า "" อย่ากระนั้นเลย เราจะนอนละ"""
46,0025,009,เป็นเหตุของผู้เกียจคร้านข้อที่ ๑. ในบททั้งหมด ก็พึงทราบเนื้อความ
46,0025,010,โดยนัยนี้. ก็ในคำว่า มาสาจิตํ มฺเ นี้ ถั่วราชมาสที่ชุ่มน้ำ ชื่อว่า
46,0025,011,มาสาจิตะ. อธิบายว่า กายหนักเหมือนถั่วราชมาสที่ชุ่มน้ำเป็นของ
46,0025,012,หนักฉะนั้น. ข้อว่า คิลานา วุฏฺิโต โหติ คือ เป็นผู้เป็นไข้หาย
46,0025,013,แล้วในภายหลัง. เหตุแห่งความเพียร ชื่อว่า อารัพภวัตถุ. เนื้อความ
46,0025,014,"แม้แห่งปรารภความเพียรเหล่านั้น ก็พึงทราบโดยนัยนี้นี้แล."""
46,0025,015,"[๔๘๖] ฎีกาสูตรทั้ง ๒ นั้นว่า "" บุคคลชื่อว่า กสีตะ เพราะ"
46,0025,016,จมลงสู่อาการอันบัณฑิตเกลียด เพราะแปลง ท อักษร เบน ต อักษร.
46,0025,017,"พระผู้มีพระภาค ตรัสเรียกบุคคลว่า กุสีตะ ด้วยอำนาจแห่งธรรมใด,"
46,0025,018,ธรรมนั้น คือภาวะของผู้เกียจคร้าน พระองค์ตรัส ด้วยกุสีตศัพท์ใน
46,0025,019,พระสูตร ( ในบทว่า กุสีตวตฺถุ ) นี้. ความจริง อรรถแห่งภาวะ
46,0025,020,แม้จะเว้นศัพท์อันเป็นเครื่องส่องถึงภาวะ บัณฑิตก็ย่อมรู้ได้ เหมือน
46,0025,021,อุทาหรณ์ว่า ปฏสฺส สุกฺกํ ( ความที่ผ้าเป็นของขาว ) ฉะนั้น. เพราะ