Book,Page,LineNumber,Text
22,0005,001,""" บุคคล๑พึงเห็นผู้มีปัญญาใด ซึ่งเป็นผู้กล่าว"
22,0005,002,"นิคคหะ ชี้โทษ ว่าเป็นเหมือนผู้บอกขุมทรัพย์ให้,"
22,0005,003,"พึงคบผู้มีปัญญาเช่นนั้น ซึ่งเป็นบัณฑิต, (เพราะว่า)"
22,0005,004,เมื่อคบท่านผู้เช่นนั้น มีแต่คุณอย่างประเสริฐ
22,0005,005,"ไม่มีโทษที่ลามก. """
22,0005,006,[ แก้อรรถ ]
22,0005,007,บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นิธีนํ ได้แก่ หม้อแห่งขุมทรัพย์อัน
22,0005,008,เต็มด้วยเงินทองเป็นต้น ซึ่งเขาฝังเก็บไว้ในที่นั้น ๆ.
22,0005,009,บทว่า ปวตฺตารํ คือ เหมือนอย่างผู้ทำความอนุเคราะห์คน
22,0005,010,"เข็ญใจ ซึ่งเป็นอยู่โดยฝืดเคือง แล้วชักชวนว่า "" ท่านจงมา, เราจักชี้"
22,0005,011,"อุบายเลี้ยงชีพโดยสะดวกแก่ท่าน "" ดังนี้แล้ว นำไปยังที่ขุมทรัพย์แล้ว"
22,0005,012,"เหยียดออกบอกว่า "" ท่านจงถือเอาทรัพย์นี้เลี้ยงชีพตามสบายเถิด."""
22,0005,013,วินิจฉัยในบทว่า วชฺชทสฺสินํ : ภิกษุผู้ชี้โทษมี ๒ จำพวก คือ
22,0005,014,"ภิกษุคอยแส่หาโทษ ด้วยคิดว่า "" เราจักข่มภิกษุนั้นด้วยมารยาทอัน"
22,0005,015,"ไม่สมควร หรือด้วยความพลั้งพลาดอันนี้ในท่ามกลางสงฆ์ "" ดังนี้"
22,0005,016,จำพวก ๑. ภิกษุผู้ดำรงอยู่แล้วตามสภาพ ด้วยสามารถแห่งการ
22,0005,017,อุ้มชูด้วยการแลดูโทษนั้น ๆ เพื่อประโยชน์จะให้รู้สิ่งที่ยังไม่รู้ เพื่อ
22,0005,018,ต้องการจะได้ถือตามเอาสิ่งที่รู้แล้ว เพราะความเป็นผู้ปรารถนาความ
22,0005,019,เจริญแห่งคุณมีศีลเป็นต้นแก่ผู้นั้น จำพวก ๑; ภิกษุจำพวกหลังนี้
22,0005,020,
22,0005,021,๑. พระราชกวี (อาบ) วัดบวรนิเวศวิหาร แปลออกสอบเปรียญ ๖ ประโยค ใน
22,0005,022,สนามหลวง พ. ศ. ๒๔๖๔.