Book,Page,LineNumber,Text 10,0029,001,เพื่อจำกัดความไม่แน่ชัด ถ้าละไว้เสีย อาจทำให้ผู้ฟังหรือผู้อ่านเข้าใจ 10,0029,002,ความเขวไปจากที่ประสงค์ได้ ด้วยไม่ทราบว่า กิริยาศัพท์นั้นเล็งถึง 10,0029,003,ประธานเช่นไร เว้นแต่ในที่ซึ่งมีเนื้อความต่อเนื่องมาจากข้างต้น คือ 10,0029,004,ได้บ่งประธานไว้แล้ว ซึ่งจำกัดไว้ว่าต้องการอย่างนั้น เช่นนี้จะไม่วาง 10,0029,005,ไว้อีกก็ได้ เพราะอาจส่องถึงกันได้ โดยอาศัยประธานตัวหน้าเป็น 10,0029,006,หลัก เพราะฉะนั้น ท่านผู้รจนาพากย์มคธ เมื่อจะใช้กิริยาศัพท์ฝ่าย 10,0029,007,ปฐมบุรุษ จึงต้องเรียงตัวประธานกำกับไว้ด้วย เพื่อจำกัดความ เว้น 10,0029,008,ไว้แต่ในที่ซึ่งได้ระบุมาแล้วข้างต้น และกิริยาหลังก็ต้องการตัวนั้น 10,0029,009,ในที่เช่นนี้ตัดออกเสียได้ หรือในที่ซึ่งกล่าวเป็นกลาง ๆ ไม่เจาะจงคน 10,0029,010,สัตว์ ที่ สิ่งของใด ๆ เป็นคำพูดที่ใช้ได้ทั่วไป ในที่เช่นนี้ ก็มักตัด 10,0029,011,ออกเสียได้ แม้ในการแปล ก็ต้องอาศัยสังเกตโดยนัยนี้ คือ เมื่อเห็น 10,0029,012,ประโยคซึ่งกิริยาเป็นปฐมบุรุษ แม้ไม่มีตัวประธานกำกับไว้ ต้อง 10,0029,013,ตรวจดูเนื้อความข้างหน้าว่า ได้กล่าวถึงใครหรือสิ่งใดมาบ้างแล้ว 10,0029,014,หรือเป็นแต่กล่าวขึ้นมาลอย ๆ คือเป็นกลาง ๆ ไม่เจาะจงใครหรือ 10,0029,015,สิ่งใด ถ้ามีตัวประธานที่กล่าวมาแล้วข้างต้น สมกับเนื้อความใน 10,0029,016,ตอนหลัง ก็ใช้ตัวนั้นนั่นแหละเป็นตัวประธานในประโยคหลัง ถ้าเป็น 10,0029,017,แต่กล่าวเป็นคำกลาง ๆ ไม่เจาะจง ก็ต้องใช้ตัวประธานที่เป็นกลาง ๆ 10,0029,018,เช่นเดียวกัน ดังที่ใช้กันโดยมาก เช่น ชโน ปุคฺคโล สตฺตา นโร การณํ 10,0029,019,กมฺมํ วตฺถุ เป็นต้น ส่วน วจนะ ก็ต้องเปลี่ยนไปตามกิริยา. แต่ 10,0029,020,บางคราวถึงกับต้องแปลงกิริยาในประโยคหน้ากลับมาเป็นนาม เพื่อ 10,0029,021,ให้เป็นประธานในประโยคหลังอีกก็มี ทั้งนี้ต้องแล้วแต่ใจความในที่