Book,Page,LineNumber,Text 07,0005,001,พยัญชนะ 07,0005,002,อักขระที่เหลือจากสระนั้น ๓๓ ตัว มี ก เป็นต้น มีนิคคหิตเป็น 07,0005,003,ที่สุด ชื่อพยัญชนะ คำว่า พยัญชนะ แปลว่าทำเนื้อความให้ปรากฏ 07,0005,004,และเป็นนิสิต คือต้องอาศัยสระ จึงจะออกเสียงได้ โดยนัยนี้ สระ 07,0005,005,กับ พยัญชนะ ต่างกัน สระ แปลว่า เสียง ออกเสียงได้ตามลำพังตน 07,0005,006,เอง และทำพยัญชนะให้ออกเสียงได้ เรียกว่า นิสัย เป็นที่อาศัย 07,0005,007,ของพยัญชนะ ส่วน พยัญชนะ แปลว่า ทำเนื้อความให้ปรากฏ และ 07,0005,008,เป็นนิสิต ต้องอาศัยสระออกสำเนียง. 07,0005,009,สระ และ พยัญชนะ จะใช้แต่อย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้นย่อมไม่ได้ 07,0005,010,เพราะลำดังสระเอง แม้ออกเสียงได้ ถ้าพยัญชนะไม่อาศัยแล้ว ก็จะ 07,0005,011,มีเสียงเป็นอย่างเดียวกันหมด ถ้าพยัญชนะไม่ชัด ยากที่จะ 07,0005,012,สังเกตได้ เช่นจะถามว่า ไปไหนมา ถ้าพยัญชนะไม่อาศัย สำเนียง 07,0005,013,"ก็จะเป็นตัว อ เป็นอย่างเดียวไปหมดว่า ""ไอ ไอ๋ อา"" ต่อพยัญชนะ" 07,0005,014,"เข้าอาศัยจึงจะออกสำเนียงปรากฏชัดว่า ""ไปไหนมา"" ดังนี้ ส่วน" 07,0005,015,พยัญชนะถ้าไม่อาศัยสระ ก็ไม่มีสำเนียงออกมาได้ ฉะนั้น พยัญชนะ 07,0005,016,ทุกตัวจึงต้องอาศัยสระออกสำเนียง. 07,0005,017,พยัญชนะ ๓๓ ตัวนี้ จัดเป็น ๒ พวก คือ ที่เป็นพวก ๆ กัน 07,0005,018,ตามฐานกรณ์ที่เกิด เรียก วรรค ๑. ที่ไม่เป็นพวกเป็นหมู่กันตาม 07,0005,019,ฐานกรณ์ที่เกิด เรียก อวรรค ๑. พยัญชนะวรรค จัดเป็น ๕ วรรค 07,0005,020,มีวรรคละ ๕ ตัว เรียกตามพยัญชนะที่อยู่ต้นวรรค ดังนี้ :-